• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/08491ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบริษัทเกาหลีทำสัญญาให้ ความช่วยเหลือทางเทคนิค

เลขที่หนังสือ กค 0811/08491ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบริษัทเกาหลีทำสัญญาให้ ความช่วยเหลือทางเทคนิค

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/08491ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบริษัทเกาหลีทำสัญญาให้ ความช่วยเหลือทางเทคนิค

เลขที่หนังสือ กค 0811/08491ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบริษัทเกาหลีทำสัญญาให้ ความช่วยเหลือทางเทคนิค

เลขที่หนังสือ : กค 0811/08491
วันที่ : 11 มิถุนายน 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบริษัทเกาหลีทำสัญญาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(3), มาตรา 41, มาตรา 70, มาตรา 76 ทวิ, พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505
ข้อหารือ : กรณีบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย (บริษัทไทย) ประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า ประสงค์จะได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากบริษัทแม่ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (บริษัทเกาหลี) ประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า โดยบริษัทเกาหลีจะได้ส่งวิศวกรเข้ามาให้ความช่วยเหลือในประเทศไทยเป็นครั้งคราว ดังนั้น เมื่อบริษัทไทยจ่ายค่าจ้างตามสัญญาดังกล่าวออกไปให้บริษัทเกาหลี จะต้องมีการหักภาษีไว้หรือไม่ และเมื่อวิศวกรชาวเกาหลีเข้ามาทำงานในประเทศไทย จะต้องมีภาระภาษีใด ๆ หรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.1 กรณีบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ทำสัญญาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค แก่บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย ไม่เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
1.2 เงินได้ที่บริษัทเกาหลีได้รับ เข้าลักษณะเป็นค่าสิทธิ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนเพื่อการใช้ข้อสนเทศเกี่ยวกับความรู้ทางอุตสาหกรรมการพาณิชย์ หรือวิทยาศาสตร์ ประสบการณ์หรือทักษะ ซึ่งเป็นค่าสิทธิ ตามข้อ 13แห่งอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ดังนั้น เมื่อบริษัทไทยจ่ายเงินดังกล่าวออกไปให้กับบริษัทเกาหลี ซึ่งไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 13 แห่งอนุสัญญาฯ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.1 กรณีที่วิศวกรสัญชาติเกาหลีเข้ามาทำงานในเมืองไทย วิศวกรดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า วิศวกรดังกล่าวเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีและ
(ก) อยู่ในประเทศไทย ชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ ซึ่งรวมแล้วไม่เกินกว่า 183 วัน ในปีรัษฎากรที่เกี่ยวข้อง และ
(ข) เงินได้นั้นจ่ายโดย หรือในนามของบุคคลอื่นที่ไม่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในหรือบรรษัทของประเทศไทย และ
(ค) เงินได้นั้น มิได้ตกเป็นภาระแก่สถานประกอบการถาวร ซึ่งบุคคลผู้จ่ายเงินได้นั้นมีอยู่ในประเทศไทย
กรณีดังกล่าว วิศวกรผู้มีเงินได้ย่อมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยตามข้อ 15 แห่งอนุสัญญาฯ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505
2.2 กรณีที่วิศวกรชาวเกาหลี ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี มีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยแล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีสิทธินำภาษีที่เสียในประเทศไทยไปเป็นเครดิตหักจากภาษีของสาธารณรัฐเกาหลีได้ ตามบทของกฎหมายเกี่ยวกับภาษีต่างประเทศ ตามข้อ 5 แห่งอนุสัญญาฯ
เลขตู้ : 61/26779


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 558
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores