เลขที่หนังสือ กค 0811/02855 อากรแสตมป์ กรณีการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์

เลขที่หนังสือ กค 0811/02855 อากรแสตมป์ กรณีการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์

เลขที่หนังสือ : กค 0811/02855
วันที่ : 5 มีนาคม 2541
เรื่อง : อากรแสตมป์ กรณีการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์
ข้อกฎหมาย : มาตรา 119, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21) เพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 31)
ข้อหารือ : บริษัท ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายของศาลแพ่ง จำนวน 3 แปลง ในราคา 890,000 บาท, 890,000 บาท และ 7,500,000 บาท ตามลำดับ เนื่องจากกรมบังคับคดีได้มีหนังสือ แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดิน จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงให้แก่ผู้ซื้อโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรจากผู้ซื้อส่วนค่าอากรแสตมป์การรับเงินกรมบังคับคดี ได้หักจากราคาขายทอดตลาดแล้ว แต่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้ ปรากฏว่าราคาประเมินทุนทรัพย์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของที่ดินทั้งสามแปลงสูงกว่าราคาขายทอดตลาดและโดยที่กรมสรรพากรได้วางทางปฏิบัติในการเรียกเก็บอากรแสตมป์การจดทะเบียนในกรณีดังกล่าวไว้ตามข้อ 3 และ 4 ของหนังสือที่ กค0802/2112 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2534 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสั่งเรียกเก็บค่าอากรแสตมป์จากทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อย่างใดจะมากกว่าดังนั้น เมื่อตามหลักฐานหนังสือศาลที่นำมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 31) ลงวันที่ 30พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ปรากฏว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้หักค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินจากราคาขายทอดตลาด แต่ราคาขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์ เช่นนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนฯจะต้องเรียกเก็บอากรแสตมป์เพิ่มจากที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้หักไว้แล้วอีกหรือไม่หรือจะต้องดำเนินการอย่างไร เพราะตามมาตรา 119 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติห้ามมิให้เจ้าพนักงานลงนามรับรู้ยอมให้ทำ หรือบันทึกไว้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
แนววินิจฉัย : กรณีการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีนั้นกรมสรรพากรได้ตอบข้อหารือกรมที่ดิน ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ กค 0802/4597 ลงวันที่14 มีนาคม 2537 ว่ากรมสรรพากรได้วางทางปฏิบัติไว้แล้วตามข้อ 1(3) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรสำหรับตราสาร 28 (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลงวันที่ 4 มิถุนายน
พ.ศ. 2525 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 31)ฯลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมใช้หนังสือของศาลซึ่งมีรายละเอียดแสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวนั้น "ได้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน... บาท ไว้แล้ว ตามใบสลักหลังตราสาร (อ.ส.5) เลขที่... วันที่..." ที่มีถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นหลักฐานแสดงการชำระค่าอากรแสตมป์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในกรณีดังกล่าวด้วยดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่ต้องเรียกเก็บค่าอากรแสตมป์ในกรณีดังกล่าวอีกและกรณีเสียอากรไม่ครบถ้วนถูกต้อง กรมสรรพากรจะสั่งเรียกเก็บเพิ่มเติมตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรต่อไป
เลขตู้ : 61/26461


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 421
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores