• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/01611 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญฯ มาเป็นรายจ่าย

เลขที่หนังสือ กค 0811/01611 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญฯ มาเป็นรายจ่าย

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/01611 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญฯ มาเป็นรายจ่าย

เลขที่หนังสือ กค 0811/01611 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญฯ มาเป็นรายจ่าย

เลขที่หนังสือ : กค 0811/01611
วันที่ : 5 กุมภาพันธ์ 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญฯ มาเป็นรายจ่าย
ข้อกฎหมาย : ประเด็นปัญหา
ข้อหารือ :  1. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2540 เป็นการแก้ไขความใน (1) (ค) ของมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 31) พ.ศ. 2534 ซึ่งในขณะที่ออกพระราชบัญญัติดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ จึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย โดยสามารถนำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้บางส่วน ใช่หรือไม่
  2. ในขณะที่นำพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2540 ออกใช้บังคับ การกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว ซึ่งรวมถึงการกำกับดูแลในเรื่องการตั้งค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญด้วย แต่ในพระราชกำหนดดังกล่าวมิได้ระบุถึงการตั้งสำรองตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไว้ บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดิมตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 31) พ.ศ. 2534 และมีการระบุประเภทนิติบุคคลดังกล่าวไว้ในพระราชกำหนดฯ จะยังคงได้รับประโยชน์ตามความในพระราชกำหนดฉบับข้างต้นหรือไม่ สำหรับการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
แนววินิจฉัย : ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้จะระบุว่าเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แต่เมื่อบริษัทหลักทรัพย์เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ก็ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ที่อ้างถึงในมาตรา 65 ตรี (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าว เป็นบริษัทหลักทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ ตามมาตรา 321 ของหมวด 13 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
เลขตู้ : 61/26380


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 545
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores