มาตรา 71 ตรี วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
“ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามวรรคหนึ่งเจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดี อาจส่งหนังสือแจ้งความแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และผู้ได้รับหนังสือแจ้งความต้องปฏิบัติตามภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ อธิบดีจะอนุญาตให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปก็ได้แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่ได้รับหนังสือแจ้งความเป็นครั้งแรก ให้ผู้ได้รับหนังสือแจ้งความต้องปฏิบัติตามภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความนั้น”
ใครจะเป็นผู้ถูกเลือกให้ยื่นเอกสารหลักฐานแสดงข้อมูลดังกล่าว
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร) และมีธุรกรรมระหว่างกัน เป็นสัดส่วนจำนวนเงินที่เป็นสาระสำคัญของจำนวนรายได้ทั้งหมดของกิจการ ซึ่งการกำหนดราคาระหว่างกันอาจมีผลต่อผลประกอบกิจการหรือกำไรของกิจการ อันมีผลให้เสียภาษีน้อยลงหรือไม่ได้ชำระภาษี (จำนวนรายได้กำหนดไว้ตามกฎกระทรวง ซึ่งไม่น้อยกว่าสองร้อยล้านบาท ตามมาตรา 71 ตรีวรรคสาม)
กรมสรรพากรมีหลักเกณฑ์ใดบ้างในการคัดเลือกบริษัทฯ เพื่อแจ้งให้นำส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบการกำหนดราคาของธุรกรรมระหว่างกัน Transfer Pricing Audit
ตัวอย่างความเสี่ยง ที่อาจเป็นมูลเหตุให้กรมสรรพากรเรียกตรวจสอบการกำหนดราคาของธุรกรรมระหว่างกัน Transfer Pricing Audit
การตรวจสอบของเจ้าพนักงานฯ จะแจ้งให้บริษัท A ปรับเพิ่มกำไรสุทธิไปที่จุดใดจุดหนึ่งของช่วงราคา |