• Home

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • ยื่นภาษี แบบคนมีครอบครัว แยกยื่น หรือ รวมยื่น เลือกแบบไหนดี?

ยื่นภาษี แบบคนมีครอบครัว แยกยื่น หรือ รวมยื่น เลือกแบบไหนดี?

  • Home

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • ยื่นภาษี แบบคนมีครอบครัว แยกยื่น หรือ รวมยื่น เลือกแบบไหนดี?

ยื่นภาษี แบบคนมีครอบครัว แยกยื่น หรือ รวมยื่น เลือกแบบไหนดี?



สำหรับการพิจารณาทางเลือกในการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับคู่สามีภรรยานั้น มีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ 

1. รวมยื่นแบบแสดงรายการ

โดยวิธีที่ 2 นี้เป็นการรวมเงินได้ทั้งหมดของทั้ง 2 ฝ่ายเข้าด้วยกัน แล้วนำไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ยื่นแบบ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  •  รวมยื่นแบบแสดงรายการในนามสามี คือ การที่ภรรยานำเงินได้ทั้งหมดของตนไปรวมกับเงินได้ทั้งหมดของสามี แล้วให้สามีเป็นผู้ยื่นแบบ หรือ
  • รวมยื่นแบบแสดงรายการในนามภรรยา คือ การที่สามีนำเงินได้ทั้งหมดของตนไปรวมกับเงินได้ทั้งหมดของภรรยา แล้วให้ภรรยาเป็นผู้ยื่นแบบ

โดยการรวมยื่นแบบแสดงรายการแบบนี้ เหมาะสำหรับกรณี สามีหรือภรรยา ที่คนใดคนหนึ่ง มีรายได้ต่างกับอีกฝ่ายหนึ่งมาก  และฝ่ายที่มีรายได้ต่ำกว่านั้น ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เต็มสิทธิ จึงรวมรายได้กันและให้ฝ่ายมีรายได้มากกว่าเป็นผู้ยื่นแบบ ทำให้สามารถรวมสิทธิค่าลดหย่อนทางภาษีต่างๆ ของฝ่ายที่มีรายได้น้อย ที่ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มสิทธิ ไปให้อีกฝ่ายที่มีภาระภาษีสูงกว่าได้ประโยชน์

ตัวอย่าง  ยืนภาษี กรณีภรรยามีรายได้จากดอกเบี้ยทั้งปี 50,000 บาท แต่มีค่าลดหย่อน ได้แก่ ค่าลดหย่อนส่วนตัวและค่าลดหย่อนบิดา-มารดา รวมกันเท่ากับ 120,000 บาท ทำให้รายได้สุทธิของภรรยาติดลบ แต่เมื่อนำรายได้และค่าลดหย่อนไปรวมกับสามี จะทำให้ทั้งคู่เสียภาษีน้อยลงนั่นเอง 

2. แยกยื่นเฉพาะเงินเดือน ส่วนเงินได้อื่นๆ นำไปยื่นรวมในนามอีกฝ่าย 

ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้ 2 วิธีย่อย คือ

  • ภรรยาแยกยื่นแบบภาษีเฉพาะเงินเดือนของตัวเอง ส่วนเงินได้อื่นๆ นำไปรวมกับเงินได้ของสามี แล้วยื่นภาษีรวมดันในนามสามี หรือ
  • สามีแยกยื่นแบบภาษีเฉพาะเงินเดือนของตัวเอง ส่วนเงินได้อื่นๆ นำไปรวมกับเงินได้ของภรรยา แล้วยื่นภาษีรวมดันในนามภรรยา

เงินได้อื่นๆ เช่น  ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่าบ้าน เงินรับจ้างทำของ เป็นต้น วิธีนี้เหมาะกับสามีภรรยาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินเดือนมาก และมีรายได้จากทางอื่นด้วย แต่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนในส่วนของเงินเดือนเต็มสิทธิทางกฎหมายแล้ว ทำให้รายได้อื่นที่เพิ่มมา นอกจากจะหักค่าใช้จ่ายเพิ่มไม่ได้ ยังเป็นรายได้ส่วนเพิ่มที่ทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น และต้องเสียภาษีมากขึ้น ก็สามารถยื่นแบบเฉพาะเงินเดือน และนำเงินได้อื่นๆ ไปรวมกับอีกฝ่ายที่มีรายได้น้อยกว่า และยังใช้สิทธิค่าลดหย่อน และค่าใช้จ่ายยังไม่เต็มสิทธิ ก็จะช่วยประหยัดภาษีได้มากกว่า

ตัวอย่าง  รายได้ทั้งปีของนาย A สามี มีเงินเดือนหลังหักค่าใช้จ่าย 1,000,000 บาท และมีเงินได้ประเภทอื่นหลังหักค่าใช้จ่าย 50,000 บาท ส่วนรายได้ทั้งปีของ B ภรรยา มีเงินเดือนหลังหักค่าใช้จ่าย 300,000 บาท และมีเงินได้ประเภทอื่นหลังหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท หากแยกยื่น  A จะมีฐานภาษีอยู่ที่ 25% ส่วนB จะมีฐานภาษีอยู่ที่ 10% แต่ถ้านำรายได้ประเภทอื่นของ A ไปยื่นรวมกับ B   B ก็ยังคงเสียภาษีในฐาน 10% ส่วน A ซึ่งยื่นเฉพาะเงินเดือนของตัวเอง ฐานภาษีจะลดลงมาอยู่ที่ 20%  

3. แยกยื่นแบบแสดงรายการ

กรณีคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกัน สามารถแยก ยื่นภาษี ได้ ต่างคนต่างยื่นแบบจากรายได้ส่วนตัวของตนเองได้ ไม่ต้องนำรายได้มารวมกัน และสามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อน และค่าใช้จ่ายแยกกันตามกฎหมายได้เลย  ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับกรณีที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีรายได้พอๆ กัน เสียภาษีในอัตราฐานภาษีที่ใกล้เคียงกัน และมีค่าลดหย่อนต่างๆ ใกล้เคียงกัน เมื่อแยกยื่นจะเป็นการกระจายหน่วยภาษี ทำให้ต่างฝ่ายต่างเสียภาษีในอัตราที่เหมาะสม นอกจากนี้การแยกยื่นจะทำให้เกิดความสะดวกกับทั้ง 2 ฝ่าย หากไม่ต้องการให้อีกฝ่ายมายุ่งเกี่ยวในการบริหารเงินส่วนตัวของตนเอง

ตัวอย่าง ถ้ารายได้ของคู่สามีภรรยาอยู่ในฐานภาษีเดียวกัน เช่น อยู่ที่ฐานภาษี 20% เท่ากัน ถ้าลองคำนวณคร่าวๆแบบยื่นรวม หรือแยกยื่นเฉพาะเงินเดือนของตัวเองแล้วไม่ได้ช่วยให้ภาษีโดยรวมของทั้งคู่ลดน้อยลง ก็ให้ใช้วิธีแยกยื่นภาษีของแต่ละฝ่ายไปจะได้ประโยชน์มากกว่า         

 ส่วนแนวทางการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี คู่สมรสนั้น สามารถดูแนวทางสรุปคร่าวๆได้ตามตารางข้างล่างนี้ 

ค่าใช้จ่ายสำหรับลดหย่อนภาษี
กรณีรวมยื่น
กรณีแยกยื่น
ส่วนตัวและคู่สมรส
รวมกันไม่เกิน 120,000 บาท คนละ 60,000 บาท
 บุตร
รวมกันได้ 60,000 บาท ต่อบุตร 1 คน
บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ได้คนละ 120,000 บาทต่อบุตร 1 คน
คนละ 30,000 บาท
บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ได้คนละ 60,000 บาท 
 บิดามารดา
ละ 30,000 บาท 
บิดามารดาคู่สมรสท่านละ 30,000 บาท
ละ 30,000 บาท 
บิดามารดาคู่สมรสท่านละ 30,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิต
รวมกันไม่เกิน 200,000 บาท (คนละ 100,000 บาท) คนละ 100,000 บาท 
หากคู่สมรสไม่มีรายได้ ลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตของฝ่ายที่ไม่มีเงินได้อีก 10,000 บาท
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้าน 
ปีละไม่เกิน 100,000 บาทต่อผู้มีเงินได้ 1 คน สิทธิจะอยู่กับผู้ที่มีชื่อในสัญญาเป็นผู้กู้ โดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนตามจำนวนผู้กู้ การลดหย่อนจึงขึ้นอยู่กับลักษณะการกู้

- หากสามีภรรยากู้ร่วมกันและรวมยื่นแบบ จะลดหย่อนได้คนละครึ่งหนึ่งแต่ไม่เกิน 50,000 บาท และรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

- ต่างฝ่ายต่างกู้ไม่ว่าก่อนหรือระหว่างสมรส ใช้สิทธิของตนเองแต่ไม่เกิน 100,000 บาทและใช้สิทธิของคู่สมรสได้อีกไม่เกิน 100,000 บาท รวมกันไม่เกิน 200,000 บาท

- หากมีเงินได้ฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายที่ไม่มีเงินได้เป็นผู้กู้คนเดียว ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้


- หากสามีภรรยากู้ร่วมกันและแยกยื่นแบบ จะลดหย่อนได้คนละครึ่งหนึ่งแต่ไม่เกิน 50,000 บาท /กรณีกู้ร่วมกันแต่มีเงินได้ฝ่ายเดียว สามารถใช้สิทธิของฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ได้ด้วย (รวมเป็นไม่เกิน 100,000 บาท)

- ต่างฝ่ายต่างกู้ไม่ว่าก่อนหรือระหว่างสมรส ต่างฝ่ายต่างลดหย่อนได้ตามจริงสำหรับส่วนของตนเองแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

- หากมีเงินได้ฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายที่ไม่มีเงินได้เป็นผู้กู้คนเดียว ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้


ข้อมูลจาก : กรมสรรพากร,ธนาคารไทยพาณิชย์ ณ 25 ม.ค.65


ขอบคุณบทความจาก :: www.rd.go.th
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 7089
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores