• Home

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี

ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี

  • Home

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี

ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี



>>>> คุณวารีซึ่งมีอาชีพเป็นแม่บ้าน มีรายได้จากค่าเช่าบ้าน (ของตัวเอง) แต่เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่สรรพากรว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร

  คำตอบคือ ต้องมีภาระเสียภาษี และต้องให้สามีไปยื่นแบบในนามของสามีเพราะเงินได้ของภริยาถือเป็นเงินได้ของสามี

  คุณวารีสวนกลับว่า “บ้านก็ของภรรยา รายได้ค่าเช่าบ้าน ก็ต้องเป็นของภรรยาสิคะ จะไปเป็นของสามีได้ยังไง?”   ภาระภาษีที่เกี่ยวข้องกับเงินได้จากค่าเช่าบ้านของคุณวารีนั้น แบ่งออกเป็น

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  เงินได้จากการให้เช่าบ้าน ได้แก่ ค่าเช่า หรืออาจจะเรียกอย่างอื่นได้ว่า ค่าสิทธิการเช่า หรือเงินแป๊ะเจี๊ยะ ซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้งคือ

  ครั้งที่ 1 นำเงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ภายในเดือนกันยายน (ให้ผู้มีเงินได้ที่เป็นภริยาไปยื่นในนามของตนเอง โดยไม่ต้องยื่นในนามของสามีเนื่องจากยังอยู่ด้วยกันไม่เต็มปีภาษีนั้น)

  ครั้งที่ 2 นำงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.90) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป (คราวนี้ผู้มีเงินได้ที่เป็นภริยาที่มีสามีและอยู่ด้วยกันตลอดปีภาษี ให้นำไปยื่นรวมกับเงินได้ของสามีในนามของสามี) ทั้งนี้ ให้นำภาษีที่เสียไปในขณะที่ยื่น ภ.ง.ด.94 ในครั้งที่ 1 มาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียในครั้งนี้ได้

  ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าเช่าบ้านที่ได้รับในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 30 ของเงินที่ได้รับ หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (ตามจริง) ได้

  ทั้งนี้ ถ้าผู้เช่าบ้านเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เมื่อจ่ายค่าเช่าบ้านมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 (โดยให้ผู้เช่านำภาษีที่ถูกหักดังกล่าวไปหักออกจากภาษีที่ต้องเสียในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้ )


2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 
ผู้ให้เช่าบ้านที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ถ้ามีรายได้จากการให้เช่าบ้าน ต้องนำรายได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยการรับรู้รายได้จากการให้เช่าบ้าน ต้องคำนวณรายได้ตามส่วนแห่งระยะเวลาของการให้เช่าโดยไม่คำนึงว่าจะได้รับค่าเช่าแล้วหรือไม่

   ทั้งนี้ ถ้าผู้เช่าบ้านเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เมื่อจ่ายค่าเช่าบ้านมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 (โดยให้ผู้เช่านำภาษีที่ถูกหักดังกล่าวไปหักออกจากภาษีที่ต้องเสียได้) 


3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
 การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1)(ต) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีข้อสังเกตว่าถ้ามีการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ ถือเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพียงแต่หากรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาท/ปี กฎหมายก็ได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548


4.อากรแสตมป์
 การให้เช่าบ้านเป็นตราสารตามลักษณะแห่งตราสาร 1 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ต้องเสียอากรแสตมป์จากค่าเช่าทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท ซึ่งโดยปกติการให้เช่าบ้านต้องทำสัญญาระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร การเสียอากรแสตมป์ก็ทำได้โดยใช้แสตมป์ปิดทับสัญญาเช่าแล้วขีดฆ่า

   นอกจากภาษีที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว การให้เช่าบ้านยังต้องเสียภาษีโรงเรือนให้แก่ท้องถิ่น (เช่น เทศบาล อบต.ฯลฯ แล้วแต่ว่าอยู่ในท้องที่ใด) ในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่าเช่ารายปีอีกด้วย

   เมื่อได้รับคำตอบกระจ่างชัดแล้ว คุณวารีจึงยอมจำนน (ต่อกฎหมาย) แต่ก็ต้องขอบอกก่อนว่าเงินได้ส่วนที่เหลือหลังจากชำระภาษีต่าง ๆ แล้ว จะตกเป็นของใครนั้น สรรพากร

อบคุณบทความจาก :: สรรพากร
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 480
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores