• Home

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • มาตรการภาษี เพื่อนสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

มาตรการภาษี เพื่อนสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

  • Home

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • มาตรการภาษี เพื่อนสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

มาตรการภาษี เพื่อนสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม



มาตรการภาษี เพื่อนสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

         เป็นกลุ่มพลังที่ใหญ่ที่สุดของภาคธุรกิจที่มีประมาณกว่าร้อยละ 85 ของรายที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในปัจจุบันมีบทบาทแสดงความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตเพราะเป็นกิจการที่สร้างมูลค่าแก่ระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ทั้งในแงของการสร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ในบทบาทที่หลากหลาย คือ เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้จําหน่ายสินค่าและผู้ให้บริการ ทั้งนี้กิจการประเภทนี้ยังเป็นรากฐานของการพัฒนาและสร้างรายได้ของประเทศ เป็นหัวใจสําคัญที่จะทําให้เศรษฐกิจเติบโตเข็มแข็ง

ประโยชน์ทางภาษีอากรที่ได้รับการสนับสนุนจากมาตรการภาษี SMEs ได้แก้อะไรบ้าง
(1) ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 1 เท่า
(3) หักค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง
(4) ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสําหรับธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital : VC)

สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะได้รับได้แก่อะไรบ้าง?
1. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้้แก่บริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัดที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC) สําหรับรายได้ที่เป็นเงินป็นผลและประโยชน์ที่ได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม
2. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลใหแกผูลงทุนสําหรับเงินปันผลและผลประโยชน์จากการโอนหุ้นที่ได้รับจากการถือหุ้นในบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทจํากัด ที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC)

เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ต้องมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างไร?
1. VC ต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนกับสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรมีผลใช้บังคับ โดยมีผู้จัดการเงินร่วมลงทุนในการประกอบกิจการของบริษัทที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์
2. VC ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่นอยู่กว่า 200 ล้านบาท เรียกชําระครั้งแรกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียน และต้องเรียกชําระทั้งหมดภายใน 3 ปีนับแต่วันจดทะเบียน
3. VC ต้องเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจ SMEs ที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาทไม่นับรวมที่ดิน และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน โดยลงทุนอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 ปี แต่ถ้า VC สามารถนําธุรกิจที่ตนร่วมลงทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ไดระยะเวลาในการลงทุนอย่างต่อเนื่องดังกล่าวของ VC จะลดลงเหลือเพียงไม่น้อยกว่า 5 ปีก็ได้
4. VC ต้องถือหุ้นใน SMEs ไม่น้อยกว่าทุนจดทะเบียนดังนี้
- ร้อยละ 20 สําหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปีที่ 1
- ร้อยละ 40 สําหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปีที่ 2
- ร้อยละ 60 สําหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปีที่ 3
- ร้อยละ 80 สําหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปีที่ 4 เป็นต้นไป

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ ดังนี้
>>> ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 และชําระภาษี (ถ้ามี) สําหรับรายได้ที่ได้รับในทุกประเภทภายในสองเดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
>>> ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 และชําระภาษี (ถ้ามี) สําหรับรายได้ที่ได้รับในทุกประเภทภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยยื่นเป็นประจําทุกรอบระยะเวลาบัญชีไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่

Click Download รายละเอียดมาตรการภาษี เพื่อนสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้ที่รูปภาพ


ขอบคุณบทความจาก :: www.rd.go.th
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 484
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores