รู้รอบเรื่องบัญชีและภาษี : งบการเงินมีคุณภาพ พิจารณาได้อย่างไร ?

รู้รอบเรื่องบัญชีและภาษี : งบการเงินมีคุณภาพ พิจารณาได้อย่างไร ?



รู้รอบเรื่องบัญชีและภาษี : งบการเงินมีคุณภาพ พิจารณาได้อย่างไร ?
งบการเงินจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินก็ต่อเมื่องบการเงินมีลักษณะเชิงคุณภาพตามที่กรอบแนวคิดฯ กำหนดไว้ นั่นคือ การนำลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินและมาตรฐานการบัญชีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดทำงบการเงิน
ช่วยให้งบการเงินมีความถูกต้องตามควร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินตามวัตถุประสงค์ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน(Qualitative Characteristics of FinancialStatements) หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ การกำหนดลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของข้อมูลทางการบัญชี ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูลทุกฝ่าย เช่น ช่วยให้ผู้จัดทำงบการเงินมีแนวทางและบรรทัดฐานในการตัดสินใจเลือกวิธีการบัญชี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูลทุกฝ่าย รวมทั้งช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับและข้อจำกัดของข้อมูลทางการบัญชี และช่วยเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างบุคคลหลายฝ่าย ทั้งผู้จัดทำและผู้ใช้งบการเงินให้เข้าใจและนำกรอบแนวคิดฯ และมาตรฐานการบัญชีไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ลักษณะเชิงคุณภาพหลักของ PAEs

1.การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม หมายถึงการแสดงรายการและเหตุการณ์ทางการบัญชีอย่างเที่ยงธรรมตามที่ต้องแสดงหรือควรจะแสดงตัวอย่างเช่น กิจการรับรู้ค่าใช้จ่ายก่อนจัดตั้งบริษัทเป็นค่าใช้จ่ายทันทีในงบกำไรขาดทุน (มิใช่แสดง
เป็นค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงิน) กิจการรับรู้รายการที่เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินเนื่องจากรายการดังกล่าวเป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์และเข้าเกณฑ์การรับรู้สินทรัพย์โดยปกติ ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือจะต้องมีความชัดเจนและแน่นอน แต่บางครั้งข้อมูลบางรายการอาจจำเป็นต้องอาศัยการประมาณการข้อมูลที่มีการประมาณการอย ่างสมเหตุสมผล และเป็นไปตามหลักการบัญชีสามารถเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมได้ ข้อมูลในงบการเงินจะเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของเหตุการณ์เชิงเศรษฐกิจโดย

1.1) ครบถ้วน (Completeness) หมายถึงข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็น เพื่อการเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมได้รวมอยู่ในเนื้อหาสาระเชิงเศรษฐกิจของเหตุการณ์นั้น กล่าวคือ ไม่มีการละเว้นรายการ (ขาดหายหรือปกปิดข้อเท็จจริง) หรือ
ไม่รวมรายการที่ไม่ควรนำมารวม (เกินหรือบิดเบือนความจริง)ข้อมูลในงบการเงินมีความครบถ้วนหากข้อมูลมีนัยสำคัญและมีต้นทุนในการจัดทำไม่สูงกว่าประโยชน์ที่ได้รับ ต้นทุนในที่นี้ หมายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการจัดทำและนำเสนองบการเงิน เช่น ค่าใช้จ่ายรวบรวมและบันทึกข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์และตีความหมายของผู้ใช้ข้อมูล และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเปิดเผยข้อมูลแล้วทำให้เสียเปรียบคู่แข่งขัน ผู้ใช้งบการเงินจึงควรพิจารณาถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับต้นทุนและประโยชน์ที่ได้รับด้วย

1.2) เป็นกลาง (Neutrality) หมายถึง ไม่มีอคติหรือความลำเอียง (Free from Bias) ในความตั้งใจที่พยายามให้ผลลัพธ์เป็นไปตามที่ได้กำหนด กล่าวคือ ผู้ให้ข้อมูลไม่ควรมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจหรือการใช้ดุลยพินิจของผู้ใช้ เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้แล้ว

1.3) ปราศจากข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญ(Free from Material Error) หมายถึง การจัดทำและการนำเสนอข้อมูลอยู่ภายใต้ความไม่แน ่นอนและการใช้ดุลยพินิจของผู้จัดทำข้อมูลข้อมูลดังกล่าวอาจมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง แต่ไม่มีสาระสำคัญ หรือไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ กล่าวคือ ถูกต้องตามควร

2.ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจต่อเมื่อข้อมูลนั้นช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีตปัจจุบัน และอนาคตได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ลงทุนสามารถใช้ข้อมูลในงบการเงินของบริษัทที่ต้องการ
ลงทุน เพื่อคาดการณ์ว่าบริษัทมีความสามารถในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้เพียงไร และผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ เมื่อผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหุ้นของบริษัทแล้ว ผู้ลงทุนสามารถใช้งบการเงินในงวดต่อมายืนยันว่าการตัดสินใจที่ได้ทำไปแล้วถูกต้องหรือไม่โดยสรุปแล้ว ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจจะต้องเป็นข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะช่วยลดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของข้อมูลถือเป็นคุณลักษณะหลัก ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะและความมีสาระสำคัญของข้อมูลข้อมูลจะมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเมื่องบการเงินนำเสนอข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจแตกต่างไปจากกรณีไม่มีข้อมูล หรือทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไป แสดงว่าข้อมูลนั้นเกี่ยวข้องอย่างมีสาระสำคัญต่อการตัดสินใจคือช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถยืนยันผลของเหตุการณ์หรือรายการค้าที่คาดการณ์ไว้ในอดีต เรียกว่า “คุณค่าทางการยืนยัน” (ConfirmatoryValue) และช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถคาดคะเนผลของเหตุการณ์หรือรายการค้าในปัจจุบันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เรียกว่า “คุณค่าทางการพยากรณ์” (Predictive Value)

Click Download รายละเอียดรู้รอบเรื่องบัญชีและภาษี : งบการเงินมีคุณภาพ พิจารณาได้อย่างไร คลิกได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 1359
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores