การวางแผน และควบคุมเงินสด

การวางแผน และควบคุมเงินสด


การวางแผน และควบคุมเงินสด


เงินสดจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องสูง จึงมีโอกาสที่จะเกิดการทุจริตหรือสูญหายได้ง่าย

กิจการจึงควรต้องให้ความสำคัญต่อการวางแผนและควบคุมเงินสด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการบริหารเงินสด การบริหารเงินสดมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้การจัดหาหรือเตรียมเงินสดไว้ให้เพียงพอสำหรับการดำเนินงานของกิจการทั้งการดำเนินงานระยะสั้นและระยะยาว การใช้เงินทุนของกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตลอดเวลา การจ่ายเงินสดเป็นไปอย่างเหมาะสมและตามวัตถุประสงค์ของกิจการ รวมทั้งมีระบบการควบคุมการจ่ายเงินสด การเตรียมเงินฝากธนาคารมีความเพียงพอสำหรับกิจกรรมทำงกำรเงินที่ผ่ำนทางธนาคาร การบันทึกรายการเกี่ยวกับเงินสดทันเวลาและถูกต้อง รวมทั้งการเก็บรักษาเงินสดมีความปลอดภัยเพียงพอ โดยไม่เกิดการสูญหายหรือทุจริตและเงินที่ได้รับนำฝากธนาคารอย่างทันทีโดยปกติ ผู้บริหารทางการเงินจะอาศัยข้อมูลและความร่วมมือจากสมุห์บัญชี และเหรัญญิก (Treasurer) ซึ่งบทบาทและความรับผิดชอบของสมุห์บัญชีและเหรัญญิก ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร

หน้าที่ของเหรัญญิก คือ การบริหารเงินทุนและรับผิดชอบในการจัดการเงินสดของกิจการ การพยากรณ์ความต้องการทางด้านการเงิน รวมทั้งการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับธนาคารหรือนักลงทุนอื่นๆ โดยสรุปหน้าที่หลักของเหรัญญิก คือ การดูแลกระบวนการรับและจ่ายเงินสดสำหรับสมุห์บัญชี มีหน้าที่โดยตรงในการวางแผนเงินสดและการจัดให้มีระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด เช่น การพยากรณ์จำนวนเงินสดที่กิจการจะได้รับหรือต้องจ่ายไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การกำหนดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งกระบวนการรับและจ่ายเงินสดของกิจการให้เพียงพอและเหมาะสม รวมทั้งการสอบทานระบบการควบคุมภายในตามระยะเวลาที่กำหนดด้วยการกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และการจัดทำรายงานเกี่ยวกับเงินสด เช่น รายงานเงินสดประจำวัน รายงานประมาณการเงินสด งบกระแสเงินสด เป็นต้น

Click Download รายละเอียดการวางแผน และควบคุมเงินสดคลิกได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 728
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores