การวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย

การวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย


การวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย

รายได้และค่าใช้จ่าย เป็นองค์ประกอบของงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลการดำเนินงาน บทความนี้ อธิบายถึงคำนิยามของรายได้และค่าใช้จ่าย การรับรู้ค่าใช้จ่าย การวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย

รายได้
กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินให้คำนิยามของรายได้และค่าใช้จ่ายไว้ดังนี้

รายได้ (Income) หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้า หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของกิจการอาจได้รับรายได้ในรูปของเงินสดสิทธิเรียกร้องที่มีต่อลูกค้า หรือมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์อันเนื่องมาจากผลิต รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่ก่อให้เกิดรายได้ อาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของกิจการและวิธีการรับรู้รายได้เช่น รายได้จากการขาย รายได้ค่าบริการดอกเบี้ยรับ รายได้ เงินปันผล ค่าเช่ารับเป็นต้น

รายได้ (Income) ตามคำนิยาม รวมถึงผลกำไร หรือรายการกำไร (Gain) และรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมตามปกติผลกำไร หรือรายการกำไร หมายถึงรายการที่เป็นไปตามคำนิยามของรายได้ และอาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้ เช่น ผลกำไรจากการขายสินทรัพย์เนื่องจากผลกำไรแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ผลกำไรจึงมีลักษณะไม่แตกต่างจากรายได้ กรอบแนวคิดจึงไม่ถือผลกำไรเป็นองค์ประกอบหนึ่งของงบการเงิน
แยกต่างหากจากรายได้

การวัดมูลค่าของรายได้โดยปกติ จำนวนรายได้ที่กิจการตกลงกับผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินทรัพย์เป็นมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ได้รับหรือค้างรับสุทธิจากจำนวนส่วนลดตามปริมาณซื้อ เช่น จำนวนรับคืนส่วนลดการค้า ส่วนลดเงินสดมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) หมายถึงจำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันในการวัดมูลค่าของรายได้นั้นจะทำได้ดีที่สุดเมื่อมีการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการซึ่งจำนวนที่แลกเปลี่ยนนี้อาจวัดได้จากเงินสดที่ได้รับ หรือจำนวนที่จะได้รับในอนาคตโดยทั่วไป มูลค่าของรายได้อาจเท่ากับราคาขายที่ตั้งไว้ ในกรณีที่กิจการไม่ได้ขายเป็นเงินสดและจำเป็นที่จะต้องสำรองเงินจำนวนหนึ่งสำหรับมูลค่าที่ลดลงเนื่องมาจากช่วงระยะเวลาในการชำระหนี้ ตัวอย่างเช่น หากกิจการขายสินค้าเป็นเงินสด 100 บาท รายได้ที่ได้รับคือ100 บาท แต่หากกิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ100 บาท จำนวนที่จะได้รับในอนาคต 100 บาทย่อมมีค่าน้อยกว่า 100 บาทในปัจจุบัน ดังนั้นรายได้ที่ได้รับอาจไม่ถึง 100 บาท อย่างไรก็ตามหากช่วงเวลาจากวันขายจนถึงวันชำระหนี้เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ กิจการจะไม่คำนึงถึงมูลค่าที่ลดลงเนื่องจากระยะเวลาดังกล่าว เพราะว่ามูลค่าที่ลดลงของำนวนที่จะได้รับในอนาคตในช่วงระยะเวลาสั้นๆ นั้นไม่มีนัยสำคัญ และโดยปกติแล้ว ผู้ขายมักรวมดอกเบี้ยเข้าไปในค่าขายแล้ว ดังนั้น หากช่วงเวลาระหว่างวันขายจนถึงวันชำระหนี้เป็นระยะเวลานานกิจการควรแยกจำนวนดอกเบี้ยออกจากค่าขายในทางกลับกัน หากจำนวนดอกเบี้ยมีจำนวนเพียงเล็กน้อย กิจการไม่จำเป็นต้องแยกจำนวนดอกเบี้ยดังกล่าวออกมาโดยปกติ จำนวนรายได้ตามที่กิจการตกลงกับผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินทรัพย์เป็นมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ได้รับหรือค้างรับสุทธิจากจำนวนส่วนลดตามปริมาณซื้อ กล่าวคือรายได้นี้หักด้วยจำนวนรับคืน ส่วนลดการค้าส่วนลดเงินสด และรายการหักอื่นๆกิจการจะสามารถวัดมูลค ่าของรายได้ก็ต่อเมื่อมีหลักเกณฑ์ที่สมเหตุสมผลในการคาดคะเนถึงสิ่งตอบแทนที่จะได้รับหรือค้างรับดังแสดงด้วยตัวอย่างต่อไปนี้

กิจการขายสินค้า 70 หน่วย ในราคาหน่วยละ 1,500 บาท เป็นจำนวนเงิน 105,000บาท ราคาขายดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนโดยผู้ขายได้รับสินค้าและผู้ซื้อจะได้รับเงินสด อีกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น ราคาขายดังกล่าวคือ มูลค่ายุติธรรมจากตัวอย่างนี้ หากผู้ซื้อจ่ายชำระค่าสินค้าเป็นเงินสด ผู้ขายจะให้ส่วนลดเงินสด 1% ดังนั้นมูลค่ารายได้ของกิจการจะเท่ากับ 103,950 บาท(105,000 หักด้วย 1% ของ 105,000)

Click Download รายละเอียดการวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย คลิกได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 414
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores