บัญชี NPAEs กับภาษี ตอนลูกหนี้

บัญชี NPAEs กับภาษี ตอนลูกหนี้

บัญชี NPAEs กับภาษี ตอนลูกหนี้

มาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs: Non-PubliclyAccountable Entities Standards) หรือ ThaiFinancial Reporting Standards for NPAEs มาบ้างแล้ว ผู้เขียนจะเปรียบเทียบมาตรฐานรายงานทางการเงินนี้ (ใช้คำย่อว่า “TFRS forNPAEs”) กับประเด็นทางด้านภาษีที่เกี่ยวข้องประเดิมบทความนี้ด้วยเรื่องลูกหนี้ และจะต่อด้วยเรื่องอื่นๆ อีกในฉบับต่อไปคำนิยามของลูกหนี้ในย่อหน้าที่ 77 ของTFRS for NPAEs หมายถึง สิทธิที่กิจการจะได้รับเงินสดหรือทรัพยากรหรือประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอื่นๆ เมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้อาจรวมถึงลูกหนี้การค้าและ

ลูกหนี้อื่น บัญชีที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ ได้แก่ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สูญ และหนี้สูญรับคืน

1) ลูกหนี้ หมายถึง สิทธิเรียกร้องของกิจการในการที่จะให้ผู้อื่นชำระด้วยเงินสด สินค้าบริการหรือสินทรัพย์อย่างอื่น ลูกหนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ลูกหนี้การค้า (เงินที่ลูกค้าค้างชำระค่าสินค้าหรือบริการที่กิจการได้ขายไปตามปกติธุระ) และลูกหนี้อื่น (ลูกหนี้ที่มิใช่ลูกหนี้การค้า เช่น เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูกจ้าง)

2) หนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง ลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ และถือเป็นค่าใช้จ่ายของระยะเวลาบัญชี บัญชีหนี้สงสัยจะสูญจะแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน

3)ค่าเผื่อหนี้สูญ หรือค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง จำนวนเงินที่สำรองไว้สำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นบัญชีปรับมูลค่าลูกหนี้ในงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน

4)หนี้สูญ หมายถึง ลูกหนี้ที่ได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้และได้ตัดจำหน่ายออกจากบัญชี

5)หนี้สูญรับคืน หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการได้รับคืนจากลูกหนี้ที่ตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญไปแล้ว
การบัญชีหนี้สงสัยจะสูญลูกหนี้เป็นสิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งของเจ้าหนี้ในการที่จะให้ชำระหนี้ โดยคาดหมายว่าจะชำระเต็มจำนวนเมื่อถึงกำหนด แต่ในสภาพความเป็นจริงทางธุรกิจ แม้ว่าลูกหนี้โดยส่วนใหญ่จะชำระหนี้ตามจำนวนและระยะเวลาที่คาดหมายไว้ แต่ก็มีลูกหนี้บางรายที่ไม่ชำระหนี้เนื่องจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม กิจการจะประมาณจำนวนเงินที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ เพื่อสำรองไว้ในบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งเป็นบัญชีปรับมูลค่า กล่าวคือ จะนำไปหักจากบัญชีลูกหนี้เพื่อแสดงมูลค่าลูกหนี้สุทธิในงบแสดงฐานะการเงิน เพื่อให้ได้มูลค่าที่ใกล้เคียงกับจำนวนที่จะเรียกเก็บเงินได้TFRS for NPAEs กำหนดวิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญไว้ในย่อหน้าที่ 81 และ82 ว่ากิจการสามารถเลือกใช้วิธีการใด

วิธีหนึ่งในการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ดังนี้

(1) วิธีร้อยละของยอดขายเชื่อสุทธิ
(2) วิธีร้อยละของยอดลูกหนี้จำแนกตามอายุหนี้ และ
(3) วิธีการพิจารณาลูกหนี้แต่ละราย

•วิธีปฏิบัติทางภาษีอากรเกี่ยวกับการประมาณหนี้สงสัยจะสูญมาตรา 65 ตรี (1) ระบุว่า เงินสำรองไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิการประมาณหนี้สงสัยจะสูญตามย่อหน้าที่ 81และ 82 ของ TFRS for NPAEs จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามทางภาษีอากร ดังนั้นกิจการที่ประมาณการหนี้สงสัยจะสูญต้องบวกกลับรายจ่ายดังกล่าวเป็นรายได้ทางภาษี

Click Download รายละเอียดบัญชี NPAEs กับภาษี ตอนลูกหนี้ คลิกได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 728
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores