กรมสรรพากร ที่ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่ได้นั้น มาใช้ในระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่จะทำให้ระบบการจัดภาษีของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการใช้วิจารณญาณ (Subjective) ในการดำเนินการจัดเก็บภาษี โดยนำระบบการตรวจสอบการจัดเก็บภาษี แบบ (Risk Based Audit : RBA) ทำให้การจัดเก็บภาษี เป็นธรรมมากขึ้นและลดการทุจริต |
นอกจากนั้นรัฐบาลก็จะได้รับประโยชน์ในการบริหารงบประมาณประเทศ กล่าวคือ เมื่อมีข้อมูลทางการเงินของระบบเศรษฐกิจที่เป็นจริงและสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริง ย่อมทำให้ข้อมูลที่ทางรัฐบาลได้รับนั้นสามารถนำมาเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแบบนโยบายของประเทศด้านต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ทำให้เกิดการใช้จ่ายงบประมาณอย่างผิดพลาดไม่ตรงตามความต้องการของประเทศ
จากแนวความคิดนี้ ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐโดยเฉพาะกรมสรรพากรกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสภาวิชาชีพบัญชี ได้ร่วมมือกันผลักดันให้เกิดพระราชกำหนด ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร
ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 โดยเป็นการเปิดโอกาสใช้ให้ SMEsในประเทศไทยได้แก้ไขปรับปรุงรายงานทางการเงินให้ตรงตามความเป็นจริงโดยยกเว้นภาษีอากร และยกเว้นการตรวจสอบภาษี
นอกจากนั้นในเวลาต่อมาในปี 2562 นี้ ก็ได้มีการออกพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากรและความรับผิดทางอาญาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร
ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 เพื่อสนับสนุน SMEs อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ SMEs ปรับปรุงรายงานทางการเงินและภาษี ให้สะท้อนภาพความเป็นจริงและเป็นการผลักดันให้ SMEs ได้ดำเนินการยื่นภาษีผ่านระบบเทคโนโลยีของทางกรมสรรพากร ซึ่งจะทำให้สรรพากรสามารถนำข้อมูลที่ได้นั้นมาใช้ในระบบ Data Analytics และ AI ต่อไปในอนาคตได้ตามวัตถุประสงค์
เหตุการณ์ดังกล่าว มีผลทำให้การบัญชีบริหารที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยได้รับความสนใจและความสำคัญสำหรับ SMEsเริ่มมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาระบบบัญชีบริหารที่กิจการ SMEs ใช้นั้นมักจะเป็นข้อมูลด้านการเงินที่ผู้ประกอบการเป็นผู้เก็บรวบรวมเอง และไม่ได้ใช้ข้อมูลตามรายงานทางการเงิน ทำให้การบริหารงานของผู้ประกอบการนั้นอาจเกิดการผิดพลาด และเกิดความสับสนได้
ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากิจการวางแผนเกี่ยวกับเรื่องกระแสเงินสด |
นอกจากนั้นการติดต่อธุรกิจไม่ว่าการทำข้อตกลงการซื้อขาย การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ผู้ประกอบการก็ต้องเตรียมข้อมูลเพิ่มเติมมากมาย เพื่อนำเสนอต่อสถาบันการเงินเพื่อพิสูจน์ว่ากิจการของตนมีประสิทธิภาพและศักยภาพด้านเครดิตต่อการขอสินเชื่อมากกว่าข้อมูลในรายงานทางการเงินแบบทางการที่นำส่งรัฐบาล
ดังนั้น เมื่อมีการผลักดันเรื่องบัญชีชุดเดียวนี้ขึ้น ทำให้การบัญชีบริหารกลับมามีบทบาทมากขึ้นต่อ SMEs ซึ่งจะทำให้ระบบบัญชีบริหารสามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจดำเนินกลยุทธ์ในทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งกระบวนการบริหารจัดการ ด้านการวางแผน ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลจากงบการเงินมาใช้เป็นฐานในการจัดทำงบประมาณ ทำให้งบประมาณที่ได้มีประโยชน์ต่อการวางแผนในการดำเนินกลยุทธ์ของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถนำมาใช้จัดทำแผนทางธุรกิจเพื่อนำเสนอต่อสถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อ
นอกจากนี้ในการควบคุมติดตามในการบริหารจัดการธุรกิจ ผู้ประกอบการสามารถใช้ข้อมูลที่เกิดจากรายงานทางการเงินที่นำเสนอข้อมูลที่แท้จริงมาเป็นผลประกอบการเทียบกับงบประมาณที่ตั้งไว้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ความต่าง (Variance Analysis) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถใช้เทคนิคทางบัญชีบริการมากมายมาสนับสนุนในการบริหารจัดการ เช่น เทคนิค Management by Exception หรือแม้กระทั่งการนำการบัญชีตามความรับผิดชอบ (Responsibility Accounting) มาใช้เพื่อวัดผลงาน ทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนากิจการอย่างต่อเนื่องยิ่งกว่านั้น จากการที่กิจการมีการบันทึกข้อมูลตามความเป็นจริงทำให้สามารถนำข้อมูล มาใช้ในการบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การวิเคราะห์คู่แข่ง การวิเคราะห์ลูกค้า การวัดผลแบบองค์รวม เป็นต้น
การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีด้านสารสนเทศอย่างมากในปัจจุบัน ส่งผลให้ SMEs จะต้องมีการปรับตัวโดยเพื่อให้สามารถอยู่รอด มั่นคง และยั่งยืน การที่ SMEs จะทำได้นั้นจะต้องอาศัยการบัญชีบริหาร ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับผู้บริหารหรือผู้ประกอบที่จะทำให้สามารถตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การที่จะทำให้ผู้บริหารมีเครื่องมือด้านการบัญชีบริหารที่มีประสิทธิภาพได้นั้น จะต้องอาศัยการเก็บข้อมูลรวมถึงการรายงานข้อมูลตามความเป็นจริงซึ่งเหตุการณ์การผลักดันเรื่องการบัญชีชุดเดียว จึงเป็นโอกาสที่ดีของ SMEs ที่จะได้เริ่มต้นปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการผ่านการใช้ระบบบัญชีบริหาร เพื่อให้สามารถแข่งขัน อยู่รอดได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน ในสภาวะเศษรฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในปัจจุบัน นอกจากนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ SMEs สามารถใช้ประโยชน์จากระบบการบัญชีบริหารให้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อันจะทำให้ SMEs ของประเทศไทยได้เปลี่ยนไปเป็นกิจการที่มีผลงานยอดเยี่ยม (High Performance SMEs) ซึ่งในที่สุดแล้วจะส่งผลความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
ขอบคุณบทความจาก :: สภาวิชาชีพบัญชี
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com