ข้อควรพิจารณาก่อนการแสดงความเห็นต่องบการเงิน

ข้อควรพิจารณาก่อนการแสดงความเห็นต่องบการเงิน



เข้าถึงช่วงปลาย High season ของการตรวจสอบแล้วหลายท่านกำลังเร่งรีบเพื่อที่จะสรุปผลการตรวจสอบให้เสร็จทันเวลา บางท่านอาจจะพบปัญหาว่าไม่สามารถสรุปการตรวจสอบได้เนื่องจากไม่ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอขณะที่บางท่านอาจได้รับแรงกดดันจากผู้บริหารที่เร่งให้ตรวจสอบงบการเงินให้แล้วเสร็จทันต่อการยื่นงบการเงินตามระยะเวลาที่กฎหมายของหน่วยงานราชการต่าง ๆ กำหนด เพื่อที่บริษัทจะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับ จากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดของเวลาที่เหลืออยู่ อาจจะมีผลให้ผู้สอบบัญชีขาดความระมัดระวังรอบคอบในการสรุปผลการตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงิน เช่น การสรุปหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับว่าเพียงพอและเหมาะสมต่อการแสดงความเห็น การตรวจสอบข้อสมมติฐานที่สำคัญที่มีความไม่แน่นอน การตรวจสอบรายการผิดปกติในงบการเงินรวมทั้งประเด็นที่สำคัญที่ยังสรุปไม่ได้ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจมีผลต่อการแสดงความเห็นต่องบการเงินที่ผิดพลาด

ดังนั้นท่านต้องหลีกเลี่ยงที่จะแสดงความเห็นต่องบการเงินก่อนการเสร็จสิ้นสรุปผลการตรวจสอบ ตัวอย่างเรื่องที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนการแสดงความเห็นต่องบการเงิน ได้แก่ความเพียงพอและเหมาะสมของหลักฐานและกระดาษทำการ เช่น 1) ท่านได้รับหนังสือยืนยันจากธนาคารครบถ้วนและบริษัทได้บันทึกและเปิ ดเผยข้อมูลในหนังสือยืนยันในงบการเงินถูกต้องและครบถ้วน 2) ในกรณีที่ไม่ได้รับหนังสือยืนยันตอบกลับจากลูกหนี้ท่านได้ติดตามตรวจสอบความมีอยู่จริงและยอดคงเหลือของลูกหนี้แล้ว 3) หลักฐานการตรวจสอบทั้งหมดได้ครอบคลุมความเสี่ยงจากประเมินในขั้นการวางแผนตรวจสอบแล้ว 4) กระดาษทำการได้รับการสอบทานอย่างครบถ้วน และการจัดทำกระดาษทำการเรื่องสำคัญต้องแล้วเสร็จก่อนวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี เป็นต้น

ข้อสมมติฐานทางบัญชีที่สำคัญ เช่น การประเมินความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การตรวจสอบประมาณการทางบัญชีที่ผู้บริหารใช้ข้อสมมติต่าง ๆ ในการจัดประมาณการ

ประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น ประเด็นทางบัญชีหรือประเด็นทางการสอบบัญชีมีผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญต่อการแสดงความเห็นต่องบการเงินหรือไม่ อย่างไร มีเหตุการณ์หลังวันที่ในงบการเงินที่กระทบต่อการบันทึกหรือการเปิ ดเผยข้อมูลในงบการเงินหรือไม่ อย่างไร มีคดีความในหนังสือยืนยันจากทนายความหรือไม่ เป็นต้น

การได้รับหลักฐานหนังสือรับรองของผ้บริหารโดยปกติวันที่ในหนังสือรับรองของผู้บริหารควรเป็นวันที่เดียวกับวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี นอกจากนี้ ท่านต้องตรวจสอบว่าข้อความในหนังสือรับรองถูกต้อง ผู้ ลงนามเป็นผู้มีอำนาจและรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงิน และรายการปรับปรุงที่ยังไม่ได้แก้ไขได้แนบไว้กับหนังสือรับรองแล้ว

ท้ายสุด ก่อนที่จะตัดสินใจแสดงความเห็นต่องบการเงินท่านจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ว่าการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวเกิดจากการประเมินข้อสรุปที่ได้รับจากหลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอ และจะต้องจัดทำกระดาษทำการเรื่องสำคัญให้ แล้วเสร็จก่อนวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี สำหรับกรณีได้ รับแรงกดดันจากผู้ บริหารท่านจำเป็ นต้องสื่อสารให้ ผู้ บริหารได้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติงานของการตรวจสอบบัญชี อีกทั้งท่านอาจจำเป็ นต้องระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับช่วงเวลาของการตรวจสอบให้ชัดเจนในการตอบรับงานปีหน้า



อบคุณบทความจาก :: สภาวิชาชีพบัญชี
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 280
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores