เลขที่หนังสือ | : กค 0702/3542 |
วันที่ | : 26 มิถุนายน 2566 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการว่าจ้างพนักงานสัญชาติอเมริกัน และการรายงานข้อมูลทางบัญชี (FATCA) |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 40 (1) มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 และข้อ 16 วรรคหนึ่ง อนุสัญญาภาษีซ้อนไทย-อเมริกา |
ข้อหารือ | : ธนาคารมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย มีการว่าจ้างพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นคนไทยที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสัญชาติอเมริกัน/Permanent Resident Card (พนักงานฯ) เพื่อปฏิบัติงานให้กับธนาคารที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและพักอาศัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากธนาคารไม่ได้มีสาขาหรือสำนักงานในประเทศสหรัฐอเมริกา ธนาคารจึงต้องว่าจ้างโดยตรงจากสำนักงานใหญ่ประเทศไทย ซึ่งธนาคารจะดำเนินการจ่ายค่าจ้าง รายเดือน ด้วยการโอนค่าจ้างเข้าบัญชีธนาคารของพนักงานฯ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ธนาคารขอทราบว่า ธนาคารต้องดำเนินการอย่างไรตามประมวลรัษฎากร ดังนี้ 1. พนักงานฯ ที่ธนาคารว่าจ้างต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ประเทศไทย หรือที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 2. กรณีพนักงานฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้ง 2 ประเทศ พนักงานฯจะสามารถนำมาเครดิตภาษีคืนได้หรือไม่ โดยขอเครดิตภาษีคืนได้จากประเทศใด และต้องใช้เอกสารหรือหลักฐานใดบ้าง และมีขั้นตอนในการดำเนินการเครดิตภาษีคืนอย่างไร 3. เนื่องจากพนักงานฯ ที่ธนาคารว่าจ้างไม่ได้มีถิ่นที่อยู่อาศัย และไม่ได้นำเงินได้เข้ามายังประเทศไทย ดังนั้น พนักงานฯ มีข้อยกเว้นที่จะไม่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายที่ประเทศไทยหรือไม่ 4. ค่าจ้างที่ธนาคารสำนักงานใหญ่ประเทศไทย เป็นผู้จ่ายให้กับพนักงานฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่และพักอาศัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยโอนเข้าบัญชีของพนักงานฯ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ธนาคารจะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากรในประเทศไทยหรือไม่ 5. หากพนักงานฯ ที่ธนาคารว่าจ้างที่มีสถานะเป็นสัญชาติอเมริกัน/Permanent Resident Card และธนาคารจ่ายเงินได้ไปยังบัญชีของธนาคารของพนักงานฯ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ธนาคารต้องดำเนินการรายงานข้อมูลทางบัญชี (Foreign Account Tax Compliance Act : FATCA) ของพนักงานฯ รายดังกล่าวหรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของ FATCA |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีตาม 1. ถึง 4. ธนาคารได้จ้างพนักงานฯ ซี่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาในตำแหน่งพนักงานประจำต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานให้กับธนาคารหากพนักงานฯ ดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหน้าที่การงานในประเทศไทย และมิได้เดินทางหรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และธนาคารจ่ายเงินได้เข้าบัญชีธนาคารในต่างประเทศของพนักงานฯ อาจแยกพิจารณาได้ ดังนี้ 1.1 กรณีเงินได้ที่พนักงานฯ ได้รับจากธนาคารเป็นเงินได้พึงประเมินตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้รับจากการทำงานเพื่อกิจการของนายจ้างในประเทศไทย เงินได้ที่พนักงานฯ ได้รับอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเมื่อมีการจ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานฯ ผู้จ่ายเงินได้จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี เนื่องจากเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนอย่างอื่นที่คล้ายคลึงกันซึ่งพนักงานฯ ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับในส่วนที่เกี่ยวกับการจ้างงานเข้าลักษณะเป็นบริการส่วนบุคคลที่ไม่เป็นอิสระซึ่งเก็บภาษีได้เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นรัฐที่พนักงานฯ มีถิ่นที่อยู่เท่านั้น ดังนั้น ค่าตอบแทนที่พนักงานฯ ได้รับดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และธนาคารไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ 16 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาระหวางรัฐบาลแหงราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแหงสหรัฐอเมริกา เพื่อการเวนการเก็บภาษีซอนและการปองกันการเลี่ยงรัษฎากร ในสวนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 1.2 กรณีเงินได้ที่พนักงานฯ ได้รับจากธนาคารเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หากผู้รับเงินได้พึงประเมินไม่ได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และไม่ได้นำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน ผู้รับเงินได้พึงประเมินจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ดังนั้น เมื่อธนาคารจ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าวให้แก่พนักงานฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีตาม 5. ในการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศและการดำเนินการตาม FATCA ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรวบรวมและนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงานของผู้มีหน้าที่รายงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560 |