• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/พ./6065 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการวิจัยหรือให้บริการทางวิชาการ

เลขที่หนังสือ กค 0702/พ./6065 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการวิจัยหรือให้บริการทางวิชาการ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/พ./6065 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการวิจัยหรือให้บริการทางวิชาการ

เลขที่หนังสือ กค 0702/พ./6065 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการวิจัยหรือให้บริการทางวิชาการ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/พ./6065
วันที่ : 18 พฤศจิกายน 2564
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการวิจัยหรือให้บริการทางวิชาการ
ข้อกฎหมาย -
ข้อหารือ มหาวิทยาลัย ก. เป็นนิติบุคคลรับจ้างทำวิจัยและเป็นที่ปรึกษาโครงการต่าง ๆ ให้กับหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน โดยมีค่าใช้จ่ายและได้รับค่าตอบแทน จึงหารือว่า การให้บริการวิจัยหรือ การให้บริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ เข้าลักษณะเป็นการกระทำในทางธุรกิจหรือไม่ และได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย กรณีมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ก. รับจ้างทำวิจัยและ เป็นที่ปรึกษาโครงการต่าง ๆ ให้กับ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีค่าใช้จ่ายและได้รับ ค่าตอบแทน เข้าลักษณะเป็นการ ให้บริการ ตามมาตรา 71/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นการให้บริการวิจัยหรือ การให้บริการทางวิชาการในทางธุรกิจ อันมีผลทำให้ มหาวิทยาลัยฯ เป็นผู้ประกอบการซึ่งให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ตามมาตรา 77/1 (5) แห่งประมวลรัษฎากร มหาวิทยาลัยฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
1. กรณีมหาวิทยาลัยฯ ให้บริการวิจัย หรือให้บริการทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ให้แก่ หน่วยงานของรัฐ ที่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์กรของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร การให้บริการดังกล่าวของมหาวิทยาลัยฯ จะได้รับยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะ การประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 238)ฯ ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
2. กรณีมหาวิทยาลัยฯ ให้บริการวิจัย หรือให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ หน่วยงานตาม 1. ซึ่งเป็นการให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ เข้าลักษณะเป็นการ ให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (10) และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2535 จึงไม่ได้รับยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร และหากมีรายรับ
จากการให้บริการดังกล่าวเกินกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี มหาวิทยาลัยฯ มีหน้าที่ยื่นคำขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มูลค่าฐานภาษีในการประกอบกิจการ เกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ทั้งนี้ ตามมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่า ของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548
อย่างไรก็ดี หากมหาวิทยาลัยฯ นำรายรับที่ได้รับจากการให้บริการดังกล่าวทั้งหมดนำส่งรัฐ โดยไม่หักรายจ่าย มหาวิทยาลัยฯ จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (ท) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 84/51257


ขอบคุณบทความจาก ::กรมสรรพากร
 340
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores