• Home

  • Blog

  • การเงินการบัญชี

  • ผลกระทบต่อขนาดตัวอย่างจากการทบทวน ระดับความมีสาระสำคัญในการปฏิบัติงาน (Performance Materiality)

ผลกระทบต่อขนาดตัวอย่างจากการทบทวน ระดับความมีสาระสำคัญในการปฏิบัติงาน (Performance Materiality)

  • Home

  • Blog

  • การเงินการบัญชี

  • ผลกระทบต่อขนาดตัวอย่างจากการทบทวน ระดับความมีสาระสำคัญในการปฏิบัติงาน (Performance Materiality)

ผลกระทบต่อขนาดตัวอย่างจากการทบทวน ระดับความมีสาระสำคัญในการปฏิบัติงาน (Performance Materiality)


ตอนนี้ผู้สอบบัญชีคงอยู่ในช่วงการตรวจสอบงบการเงินประจำปี 2562 ซึ่งก่อนที่จะสิ้นสุดการตรวจสอบนั้น ตามมาตรฐานการสอบบัญชีกำหนดให้ผู้สอบบัญชีต้องประเมินระดับความมีสาระสำคัญที่ได้กำหนดไว้ ตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 320 ใหม่อีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าระดับความมีสาระสำคัญดังกล่าว ยังคงเหมาะสมในเนื้อหาของการแสดงผล การดำเนินงานทางการเงินที่แท้จริงของกิจการหรือไม่ หากผู้สอบบัญชีสรุปว่าความมีสาระสำคัญสำหรับงบการเงินโดยรวม (และหากเกี่ยวข้อง ระดับความมีสาระสำคัญระดับหนึ่ง หรือหลายระดับ สำหรับประเภทของรายการ ยอดคงเหลือทางบัญชีหรือการเปิดเผยข้อมูลของรายการใดรายการหนึ่งเป็นการเฉพาะ) ในระดับที่ต่ำกว่าความมีสาระสำคัญที่ได้กำหนดไว้เดิมมีความเหมาะสม ผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปรับเปลี่ยนความมีสาระสำคัญในการปฏิบัติงานและพิจารณาว่าลักษณะ ช่วงเวลา และขอบเขตของวิธีการตรวจสอบต่อไปยังเหมาะสมหรือไม่


            อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีปรับเปลี่ยนระดับความมีสาระสำคัญในการปฏิบัติงาน เนื่องจากมีผลกระทบ ต่อความเพียงพอของจำนวนตัวอย่างที่ผู้สอบบัญชีจะต้องรวบรวมเพื่อจะแสดงความเห็นต่องบการเงิน จากกรณีดังกล่าวนี้ผู้สอบบัญชีอาจจะเคยมีปัญหาว่าจำนวนตัวอย่างที่เพิ่มขึ้นนั้นจะต้องย้อนกลับไปสุ่มตัวอย่างที่ต้องการเพิ่มจากฐานข้อมูลประชากรที่เคยตรวจสอบไปแล้วในระหว่างงวด (Interim Audit) และในช่วงที่กำลังตรวจสอบช่วงสิ้นงวด (Year End Audit) อย่างไร ซึ่งผู้เขียนมีแนวทางการพิจารณาตามขั้นตอน ดังนี้

  1. คำนวณขนาดตัวอย่างที่กำหนดจากความมีสาระสำคัญที่ปรับเปลี่ยนโดยจะถือว่าขนาดตัวอย่างที่กำหนดใหม่นี้ เป็นขนาดตัวอย่างจากฐานข้อมูลประชากรทั้งหมดตลอดทั้งปี (Year End Audit)
  2. คำนวณผลกระทบของขนาดตัวอย่างที่สุ่มเพิ่มเติมจากฐานข้อมูลประชากรที่เคยตรวจสอบไปแล้วตลอดทั้งปี (Interim/ Year End Audit) โดยสุ่มตัวอย่าง ดังนี้
    2.1 ให้แยกตัวอย่างที่เคยสุ่มตรวจไปแล้วออกจากฐานข้อมูลประชากรทั้งหมด เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลประชากรที่เหลือ

    2.2 พิจารณาเลือกรายการหลัก (Key Items) ที่กำหนดจากความมีสาระสำคัญที่ปรับเปลี่ยนออกจากฐานข้อมูลประชากรที่เหลือ เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลประชากรสุทธิ ที่จะนำมาสุ่มตัวอย่างเพิ่มเติม
    2.3 นำฐานข้อมูลประชากรสุทธิมาเลือกตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากร (Representative Items) โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างที่เป็นจำนวนเงิน (Monetary Unit Sampling : MUS) ดังนี้
         1) คำนวณช่วงของการเลือกตัวอย่าง (Sampling Interval) จากฐานข้อมูลประชากรสุทธิ โดย


    ฐานข้อมูลประชากรสุทธิ/ จำนวนตัวอย่างที่ต้องการเพิ่ม = ช่วงการเลือกตัวอย่าง


       2) กำหนดจุดเริ่มต้นสำหรับการเลือกรายการแรก (First Item Chosen) ของฐานข้อมูลประชากรสุทธิแล้วดำเนินการเลือกรายการที่จะนำมาทดสอบ

ตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่าง / รายการที่เลือก
            ในการกำหนดขนาดตัวอย่างการตรวจสอบเนื้อหาสาระของบัญชีรายได้จากการขาย สำหรับการตรวจสอบในช่วงInterim Audit และ Year End Audit ซึ่งเมื่อมีความคืบหน้าในการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีได้มีการปรับเปลี่ยนระดับความมีสาระสำคัญเนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์และผลการดำเนินงานทำให้มีผลกระทบต่อขนาดตัวอย่างที่จะต้องเลือกเพิ่มอีก 3 รายการ ดังนี้
            สมมติว่า จำนวนประชากรของรายการบันทึกบัญชีรายได้จากการขายทั้งหมด (Total Population) เท่ากับ 15 รายการ เป็นจำนวนเงิน 110,000 บาท


ข้อมูลสมมติ : ปัจจัยในการเลือกตัวอย่าง / ขนาดตัวอย่าง

*เป็นข้อมูลสมมติขึ้น ซึ่งผู้สอบบัญชีที่นำไปใช้ต้องใช้ดุลยพินิจและทักษะความชำนาญ รวมถึงศึกษาหลักการในมาตรฐานการสอบบัญชีทุกย่อหน้าที่เกี่ยวข้องประยุกต์เข้ากับสถานการณ์และลักษณะของกิจการแต่ละกิจการและระดับความเสี่ยงของกิจการที่ทำการตรวจสอบ

            สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาผลกระทบต่อขนาดตัวอย่างจากการปรับเปลี่ยนระดับความมีสาระสำคัญในการปฏิบัติงาน (Performance Materiality) เมื่อมีความคืบหน้าในการตรวจสอบ ไม่มากก็น้อย

           ทั้งนี้ ตัวเลขและข้อมูลในบทความนี้ เป็นตัวอย่างเพื่อประกอบความเข้าใจเท่านั้น ไม่ได้ทดแทนหลักการ ในมาตรฐานการสอบบัญชี โดยตัวเลขและข้อมูลเป็นตัวเลขและข้อมูลที่สมมติขึ้น เพื่อประกอบความเข้าใจในการคำนวณเท่านั้น การนำไปใช้ต้องพิจารณาจากสถานการณ์ ความเสี่ยง ระดับความเชื่อมั่น และลักษณะของกิจการแต่ละกิจการ ซึ่งผู้สอบบัญชีที่นำไปใช้ต้องใช้ดุลยพินิจและทักษะความชำนาญ รวมถึงศึกษาหลักการ ในมาตรฐานการสอบบัญชีทุกย่อหน้าที่เกี่ยวข้องประยุกต์ เข้ากับสถานการณ์และลักษณะของกิจการแต่ละกิจการคณะอนุกรรมการมาตรฐานด้านการสอบบัญชีและเทคนิคการสอบบัญชีขอสงวนสิทธิ์ความรับผิดชอบหรือความรับผิดใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมอันเป็นผลมาจากการใช้ตัวอย่างนี้

โดย..นายธนะวุฒิ พิบูลย์สวัสดิ์
อนุกรรมการมาตรฐานด้านการสอบบัญชี
และเทคนิคการสอบบัญชี

ที่มา : มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 320 ความมีสาระสำคัญ
ในการวางแผนและการปฏิบัติงานสอบบัญชี


อบคุณบทความจาก :: สภาวิชาชีพบัญชี
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 415
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores