มาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้

มาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้



รายได้ : มาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้  Click 

            กิจการดำเนินธุรกิจให้โฆษณาในระบบดิจิทัลมีเดีย (LED) ซึ่งกิจการได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนโฆษณา (Barter) กับลูกค้าของกิจการ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  1. ตกลงทำสัญญาแลกเปลี่ยนการให้บริการโฆษณา (LED) กับ Content ข่าวสารต่างๆ หรือสาระบันเทิงอื่นๆ กับกิจการแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างสีสัน และการดึงดูความสนใจให้ลูกค้าหันมาใช้บริการโฆษณา โดยมิได้วัดมูลค่ายุติธรรมของ Content ข่าวไว้ เนื่องจากไม่สามารถวัดมูลค่าได้
  2. ตกลงทำสัญญาแลกเปลี่ยนการให้บริการโฆษณา (LED) กับบัตรชมการแสดงที่โรงละคร และตั๋วหนังภาพยนตร์กับกิจการแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำบัตรชมการแสดง และตั๋วหนังไปจัดโปรโมชั่นสมนาคุณลูกค้ารายอื่น โดยวัตถุมูลค่าของบัตรเทียบเคียงกับราคาตลาด

            จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นกิจการจะต้องรับรู้รายได้ทางบัญชีหรือไม่ และจะต้องปฏิบัติอย่างไร รวมถึงนำเสนอข้อมูลในงบการเงินอย่างไร จึงจะถูกต้องตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน (กิจการเลือกใช้มาตรฐานชุดใหญ่ หรือมาตรฐานสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ)

ในกรณีที่กิจการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน(สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ) กิจการต้องอ้างอิงการรับรู้รายได้สำหรับรายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา ตามการตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 เรื่อง รายได้-รายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา ในย่อหน้าที่ 3 และ 5 ดังนี้


            3. ผู้ขายที่ให้บริการโฆษณาเป็นการค้าปกติ จะรับรู้รายได้จากรายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับโฆษณา ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้ เมื่อบริการที่แลกเปลี่ยนมีความแตกต่างกัน (อ้างอิงย่อหน้าที่ 12 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้) และจำนวนเงินของรายได้สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ (อ้างอิงย่อหน้าที่ 20.1 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้) การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อมีการแลกเปลี่ยนบริการโฆษณาที่มีลักษณะแตกต่างกัน การแลกเปลี่ยนบริการโฆษณาที่เหมือนกันไม่ถือว่ารายการแลกเปลี่ยนนั้นก่อให้เกิดรายได้ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้

            5. รายได้จากการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการโฆษณาไม่สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือโดยใช้มูลค่ายุติธรรมของบริการโฆษณาที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม ผู้ขายสามารถวัดมูลค่าของรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือโดยใช้มูลค่ายุติธรรมของบริการโฆษณาที่ให้ในรายการแลกเปลี่ยน โดยอ้างอิงกับรายการที่มิได้มีรายการแลกเปลี่ยนซึ่ง
            5.1 เป็นการโฆษณาซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการโฆษณาที่มีรายการแลกเปลี่ยน
            5.2 เกิดขึ้นบ่อย
            5.3 แสดงถึงรายการที่มีจำนวนและยอดเงินที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับรายการทุกรายการที่ได้ให้บริการโฆษณาที่คล้ายกับการโฆษณาที่ให้ในรายการแลกเปลี่ยน
            5.4 เกี่ยวข้องกับเงินสด และ/หรือ รูปแบบอื่นของสิ่งตอบแทน (เช่น หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด สินทรัพย์ที่ไม่ใช่ตัวเงิน และบริการอื่นๆ) ซึ่งวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ และ
            5.5 ไม่เกี่ยวกับกิจการคู่ค้ารายเดียวกับที่มีรายการแลกเปลี่ยน
ดังนั้น กิจการต้องพิจารณาตามย่อหน้าดังกล่าวและรับรู้รายการตามข้อเท็จจริงและเนื้อหาเชิงเศรษฐกิจของรายการ
            
อนึ่ง ในปี 2562 เป็นต้นไป การตีความมาตรฐานฉบับที่ 31 ดังกล่าวจะถูกยกเลิก และใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 แทน ดังนั้นกิจการต้องรับรู้รายได้จากรายการแลกเปลี่ยนดังกล่าวโดยอ้างอิง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า

            ทั้งนี้ขอให้ท่านศึกษาข้อเท็จจริงและเนื้อหาของรายการและศึกษามาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดทำรายงานทางการเงินเป็นไปอย่างเหมาะสม

อบคุณบทความจาก :: สภาวิชาชีพบัญชี
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 305
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores