ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น

ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น


เศรษฐกิจในช่วงที่กระดานหุ้นลงทุนมีทางเลือกที่ไม่มากนักสำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลุงทุนทางการเงิน หากซื้อมาถูกมีโอกาสขายได้กำไร ก็เลือกที่จะขาย แต่หากขายไม่ได้กำไรส่วนต่าง ก็ต้องยอมที่จะถือหุ้นตัวนั้นๆ ต่อไป ไม่แน่ว่าเงินปันผลอาจจะได้มากกว่าที่จะได้จากการขายทิ้ง แต่ที่แน่นอนกว่า ก็คือ ภาระภาษีที่เกิดขึ้นจากประโยชน์ทั้งสองรูปแบบนั่นเอง


ภาระภาษีจากการรัเงินปันผล
เงินปันผลที่นักลงทุนได้รับจากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากนักลงทุนเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากเงินปันผลนั้นไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด ในอัตราร้อยละ 10.0 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานักลงทุนจึงสามารถเลือกวิธีการคำนวณภาษีจากเงินปันผลที่ได้รับแล้วแต่กรณี

หากเป็นกรณีเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยสามารถคำนวณหาเครดิตภาษีได้จากการนำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อย ลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดคูณด้วยจำนวนเงินปันผลที่ได้รับ ก็จะเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่คำนวณได้มารวมกับเงินปันผลเพื่อคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ (หากท่านงง...ดูคำอธิบายการกรอกแบบ ภ.ง.ด.90...คลิก)

สำหรับการคำนวณภาษีนั้น นักลงทุนจะต้องนำเงินปันผลรวมกับเครดิตภาษีแสดงรายการในแบบ ภ.ง.ด. 90 แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 48 ได้จำนวนภาษีเท่าใด ให้นำเครติดภาษีที่คำนวณได้หักออกจากภาษีที่ต้องเสีย ถ้ายังขาด ให้ผู้มีเงินได้เสียภาษีสำหรับจำนวนที่ขาด หรือหากคำนวณได้เกิน ก็มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เหลือนั้นคืน และหากเป็นกรณีจำนวนเงินปันผลรวมเครดิตภาษีนั้นมีจำนวนตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป นักลงทุนจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมินด้วย ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่นักลงทุนมีเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีหลายรายการ การเลือกเสียภาษีสำหรับเงินปันผลที่ได้รับโอนนำไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษีนั้น กรมสรรพากรวางแนววินิจฉัยไว้ชัดเจนว่า การเลือกเงินปันผลไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อคำนวณภาษีจะต้องเลือกทุกรายการ นักลงทุนไม่มีสิทธิเลือกเฉพาะบางรายการที่ตนเองได้ประโยชน์เท่านั้น

แต่หากนักลงทุนเห็นว่า การนำเงินปันผลมารวมกับเงินได้อื่นเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีที่ได้รับเงินปันผลนั้น จะเป็นผลทำให้ตนเองต้องเสียภาษีเงินได้รับไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในปีภาษีนั้นก็ได้ ตามมาตรา 48(3) แห่งประมวลรัษฎากร นั่นก็คือไม่นำเงินปันผลนั้นมาแสดงในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90 เลยก็ได้ โดยจะถือว่านักลงทุนผู้นั้นได้เสียภาษีเงินได้ไว้ในอัตราร้อยละ 10.0 แล้ว

ภาระภาษีจากการขายหุ้น
ในการลงทุนนั้น นอกจากการได้รับเงินปันผลจากกิจการที่ตนเองเป็นผู้ถือหุ้นแล้ว ผลตอบแทนอีกประการหนึ่งสำหรับนักลงทุนคือการแสวงหากำไรจากการขายหลักทรัพย์หรือกำไรส่วนต่างราคาจากการซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อมีการขายหุ้นที่ถือนั้นออกไป
กำไรส่วนต่างราคาจากการซื้อ ขายหลักทรัพย์ ประมวลรัษฎากรกำหนดว่าเป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อนักลงทุนขายหุ้นออกไปแล้วได้รับผลประโยชน์จากการโอนหุ้นเกินกว่าที่ลงทุน ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15.0 ตามมาตรา 50(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และนักลงทุนจะเลือกนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีหรือไม่ก็ได้

อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายหลักทรัพย์หรือหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (23) ซึ่งเมื่อเป็นเงินได้รับยกเว้นภาษีแล้ว ผู้มีเงินได้ก็ไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 252
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores