• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/4437 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติบุคคล

เลขที่หนังสือ กค 0706/4437 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติบุคคล

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/4437 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติบุคคล

เลขที่หนังสือ กค 0706/4437 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติบุคคล

เลขที่หนังสือ : กค 0706/4437
วันที่ : 1 มิถุนายน 2548
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติบุคคล
ประเด็นปัญหา : มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร
            กรณีผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติบุคคล พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย           การคำนวณเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณี ผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติบุคคลให้คำนวณเรียกเก็บ ดังนี้
          1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย
          กรณีผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติบุคคลและได้รับค่าทดแทนตามกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยให้รัฐบาล องค์การของรัฐบาลฯ ผู้จ่ายค่าทดแทนมีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนเงินค่าทดแทนที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เท่านั้น ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งในอัตราร้อยละ 1 ในขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด และให้ปฏิบัติตามข้อ 8(8.2) ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการรับชำระและนำส่งภาษีอากรจากการขายอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2542 ประกอบกับนิยาม “ราคาขาย” ตามข้อ 4 ของระเบียบกระทรวงการคลังฯ ดังกล่าว
          2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
          กรณีผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติบุคคล และได้รับค่าทดแทนตามกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ ตามมาตรา 3(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 สำหรับการโอนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2542 หรือตามมาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 สำหรับ การโอนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ เพื่อกรมสรรพากรในขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในอัตราร้อยละ 3.3 ของรายรับจากค่าทดแทน ตามมาตรา 91/5(6) มาตรา 91/6(3) และมาตรา 91/10 วรรคหก แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม หากกรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้กระทำตั้งแต่วันที่ 5กรกฎาคม 2543 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ให้ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/6(3) แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.1 ของรายรับจากค่าทดแทนดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 366) พ.ศ. 2543 พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 402) พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 413) พ.ศ. 2545
เลขตู้ : 68/33429

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 458
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์