• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/4522 ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547

เลขที่หนังสือ กค 0706/4522 ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/4522 ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547

เลขที่หนังสือ กค 0706/4522 ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547

เลขที่หนังสือ : กค 0706/4522
วันที่ : 3 มิถุนายน 2548
เรื่อง : ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547
ประเด็นปัญหา : มาตรา 3(1) และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418)
            เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 บริษัท A จำกัด ได้นำโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยนาย ก. และนาย B เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมร่วมกับนาย C (กรรมการผู้จัดการบริษัท A จำกัด) และนาย D มาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้กับ ธนาคาร จำกัด (มหาชน) และนาย ก. ได้เข้ามาเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับลูกหนี้รายดังกล่าว และต่อมาปี พ.ศ. 2542 บริษัทฯ ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ อันเป็นผลกระทบมาจากภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น ทำให้บริษัทฯ ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้สินเชื่อให้แก่เจ้าหนี้ตามจำนวนเงินและหรือตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ได้ และนาย C ซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัทฯ ได้หลบหนีไป นาย ก. ในฐานะผู้ค้ำประกันลูกหนี้รายดังกล่าว ไม่สามารถ

นำเงินมาชำระหนี้ดังกล่าวได้ จึงได้ทำการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่นำมา

จดทะเบียนจำนองเป็นประกันลูกหนี้รายดังกล่าวให้กับผู้ค้ำประกันร่วม คือ นาย D เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 เพื่อนำไปชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้ที่สถาบันการเงินดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันนาย ก.

ได้ชำระหนี้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

          จึงหารือว่า เงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้สถาบันการเงิน

ที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้สถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำไปชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในกรณีของลูกหนี้ราย บริษัท A จำกัด และนาย ก. ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันร่วมของลูกหนี้รายดังกล่าว อยู่ในหลักเกณฑ์ วิธีการ และ

เงื่อนไขของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547 หรือไม่

แนววินิจฉัย           กรณีดังกล่าวหากลูกหนี้ของสถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

ได้จดทะเบียนขายที่ดินที่ได้จำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 ไม่ว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นการขายโดยปลอดจำนองหรือติดจำนองให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน โดยได้ขายไปในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 และได้นำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เงินได้ที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงิน

ย่อมได้รับยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547 อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ขายที่ดินโดยติดภาระจำนองให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ภาระจำนองที่ผู้ซื้อรับภาระไปดังกล่าวผู้ขายจะต้องนำมารวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในส่วนที่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินเป็นรายได้หรือรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ด้วย ดังนั้น ภาระจำนองที่ติดไปกับที่ดินดังกล่าวที่มิใช่จำนวนเงินที่ลูกหนี้ได้นำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงิน ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547 แต่อย่างใด 

เลขตู้ : 68/33433

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 379
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์