• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/4610 สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในการปรับโครงสร้างหนี้ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)

เลขที่หนังสือ กค 0706/4610 สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในการปรับโครงสร้างหนี้ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/4610 สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในการปรับโครงสร้างหนี้ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)

เลขที่หนังสือ กค 0706/4610 สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในการปรับโครงสร้างหนี้ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)

เลขที่หนังสือ : กค 0706/4610
วันที่ : 6 มิถุนายน 2548
เรื่อง : สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในการปรับโครงสร้างหนี้ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
ประเด็นปัญหา : พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2548
            กรณีกรมสรรพากรได้ส่งสำเนาประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินตามมาตรา 3(7) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547 และส่งโทรสารสำเนาประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดสถาบันการเงินตามมาตรา 3(7) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 410) พ.ศ. 2545 ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 เป็นสถาบันการเงินให้กรมที่ดินทราบนั้น กรมที่ดินได้ส่งสำเนาประกาศอธิบดีกรมสรรพากรทั้งสองฉบับ พร้อมทั้งแจ้งแนวทางปฏิบัติในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และการเรียกเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาลดหย่อนค่าธรรมเนียมและภาษีอากร อันเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ของ บสท. ให้เจ้าหน้าที่ที่ดินทราบและถือปฏิบัติ พร้อมทั้งแจ้งให้ บสท. ทราบเพื่อจะได้จัดเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับสิทธิประโยชน์ได้อย่างถูกต้องต่อไป

          ต่อมา บสท. ได้มีหนังสือขอยกเว้นไม่ระบุและแนบสำเนาภาพถ่ายหลักฐานการให้สินเชื่อ และหนังสือสัญญาค้ำประกัน ตามข้อ 2 ของหนังสือรับรองการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ และหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่เป็นสถาบันการเงินฯ โดย บสท. จะขอใช้หนังสือรับรองการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ หนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ฯ หลักฐานการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามมาตรา 39 แห่งพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 หนังสือที่ ธปท. สกส.(02) 165/2547 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 ประกอบกับสำเนาสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่ทำขึ้นระหว่าง บสท. กับลูกหนี้ เป็นเอกสารประกอบการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมของแต่ละกรณี ๆ ไปทุกกรณี

          กรมที่ดินเห็นว่า เอกสารทั้ง 5 รายการที่ บสท. แจ้งมาเพียงพอที่จะใช้เป็นหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และภาระหนี้ที่ บสท. และลูกหนี้มีต่อกันแล้ว จึงไม่ขัดข้องหาก บสท. จะใช้เอกสารทั้งห้ารายการดังกล่าวประกอบการขอรับสิทธิประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของ บสท. แต่จากการ

ตรวจสอบพบว่าหนังสือรับรองการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ และหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ บสท. ส่งให้กรมที่ดินพร้อมสิ่งที่ส่งมาด้วย 3. นั้น มีข้อความบางส่วนไม่ตรงกับตัวอย่างหนังสือรับรองการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ และหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่กรมสรรพากรจัดทำส่งให้

กรมที่ดินเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการขอรับสิทธิประโยชน์

          กรมที่ดินจึงขอทราบว่า หาก บสท. จะใช้เอกสารหลักฐานตามที่กล่าวข้างต้นเป็นหลักฐานประกอบการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547 กรมสรรพากรจะขัดข้องหรือไม่ หรือมีความเห็นเป็นประการใด เพื่อจะได้แจ้งให้ บสท. และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทราบและดำเนินการต่อไป

แนววินิจฉัย           ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2547 บสท. ต้องแนบหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ซึ่งตามข้อ 2 ของหนังสือรับรองดังกล่าว บสท. ต้องระบุเลขที่สัญญาให้สินเชื่อลงวันที่ ..................... และ/หรือคำขอเลขที่ ......................... ลงวันที่ ...............ที่ใช้เป็นหลักฐานการให้สินเชื่อ ดังนั้น การที่ บสท. ขอยกเว้นไม่ระบุเลขที่จึงไม่อาจที่จะอนุมัติได้

          แต่อย่างไรก็ดี กรณีตามข้อเท็จจริงที่หารือ บสท. ได้หารือกรณีดังกล่าวต่ออธิบดีกรมสรรพากรด้วย และกรมสรรพากรได้มีหนังสือที่ กค 0725/1498 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2548

แจ้ง บสท. ว่า กรมสรรพากรได้มีพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 433) พ.ศ. 2548 ขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และกรมสรรพากรได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่น ซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งตามประกาศอธิบดีฯ ดังกล่าวผู้ยื่นหนังสือรับรองฯ ไม่ต้องระบุและแนบข้อมูลหลักฐานสัญญาให้สินเชื่อหรือคำขอสินเชื่อ ดังนั้น กรณี บสท. ขอยกเว้นไม่ต้องระบุและแนบหลักฐานการให้สินเชื่อหรือคำขอสินเชื่อ กรมสรรพากรอนุมัติให้ทำได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป 

เลขตู้ : 68/33435

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 392
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์