• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/13127 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการรับโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ช่าซื้อจากสถาบันการเงินที่

เลขที่หนังสือ กค 0811/13127 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการรับโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ช่าซื้อจากสถาบันการเงินที่

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/13127 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการรับโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ช่าซื้อจากสถาบันการเงินที่

เลขที่หนังสือ กค 0811/13127 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการรับโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ช่าซื้อจากสถาบันการเงินที่

เลขที่หนังสือ : กค 0811/13127
วันที่ : 8 กันยายน 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการรับโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้เช่าซื้อจากสถาบันการเงินที่
ถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการ 56 แห่ง
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65, มาตรา 78 (2), มาตรา 82/3, มาตรา 84
ข้อหารือ : บริษัทเงินทุน ก. จำกัด ได้หารือปัญหาภาษีเพิ่มเติม กรณีการรับโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อของสถาบันการเงินที่ถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการ 56 แห่ง ดังนี้
1. กรณีลูกหนี้เช่าซื้อได้ค้างชำระเงินค่างวดกับสถาบันการเงิน 56 แห่ง ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อเดิม โดยสถาบันการเงินฯ ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามงวดที่ถึงกำหนดชำระให้กรมสรรพากรไว้แล้ว ต่อมาลูกหนี้เช่าซื้อได้นำเงินค่างวดที่ค้างมาชำระให้บริษัทฯ กรณีดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินค่างวดที่ได้รับชำระให้กรมสรรพากรอีกหรือไม่
2. กรณีลูกหนี้เช่าซื้อได้ค้างชำระเงินค่างวดกับสถาบันการเงินฯ ผู้ให้เช่าซื้อเดิม และสถาบันการเงินฯยังมิได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินค่างวดที่ค้างชำระดังกล่าวหากลูกหนี้นำเงินค่างวดที่ค้างมาชำระให้บริษัทฯ ในภายหลัง บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระหลังจากที่บริษัทฯ ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้เช่าซื้อจากสถาบันการเงินฯ แล้วเท่านั้น
3. กรณีลูกหนี้เช่าซื้อได้ค้างชำระเงินค่างวด และสถาบันการเงินฯ ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแทนลูกหนี้ไปแล้วเป็นจำนวน 5 งวด หากบริษัทฯ ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้เช่าซื้อรายนี้ตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นไปและลูกหนี้ได้ชำระเงินค่างวดที่ค้างชำระทั้งหมดให้บริษัทฯ กรณีดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะค่าเช่าซื้องวดที่ 7 ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่ และสำหรับเงินค่าเช่าซื้อค้างชำระ 6 งวดแรกที่บริษัท ได้รับชำระจากลูกหนี้ บริษัทฯ จะต้องถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
4. ในการรับโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ภาษีซื้อที่บริษัทฯ ถูกสถาบันการเงินฯผู้โอน เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 10.0 ของค่าตอบแทนในการโอนสิทธิ บริษัทฯ จะขอคืนจากกรมสรรพากรได้หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย : 1. กรณีตามข้อหารือ 1. - 3. ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ตามมาตรา 78 (2) แห่งประมวลรัษฎากรดังนั้น กรณีตามข้อเท็จจริง สถาบันการเงินฯ ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อเดิม จึงมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าเช่าซื้องวดที่ถึงกำหนดชำระราคาก่อนการโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ โดยบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้รับโอน ไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าเช่าซื้องวดที่ลูกหนี้ได้ค้างชำระกับสถาบันการเงินฯ ผู้โอน ทั้งนี้ ไม่ว่าสถาบันการเงินฯ ผู้โอน จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เฉพาะค่าเช่าซื้องวดที่ถึงกำหนดชำระหลังจากบริษัทฯ ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องแล้วอย่างไรก็ดี บริษัทฯ ยังคงต้องนำเงินค่างวดค้างชำระที่ได้รับจากลูกหนี้ ตามกรณี 1. -
2. ไปรวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยรับรู้เป็นรายได้ตามสัดส่วนระหว่างส่วนต่างของค่าตอบแทนในการโอนสิทธิกับยอดหนี้คงค้างของลูกหนี้เช่าซื้อที่ได้รับโอนมา
3. กรณีตามข้อหารือ 4. ภาษีซื้อที่บริษัทฯ ถูกสถาบันการเงินฯ ผู้โอนเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 10.0 ของค่าตอบแทนในการโอนสิทธินั้น บริษัทฯ มีสิทธิขอคืนจากกรมสรรพากร โดยนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และหากมีเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในการคำนวณภาษี บริษัทฯ มีสิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่นั้น ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้ และในกรณีบริษัทฯ ไม่ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป บริษัทฯ มีสิทธิขอคืนภาษีเป็นเงินสดพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการของเดือนภาษีนั้นได้ทั้งนี้ ตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 61/27065



ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 430
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์