info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
การเงินการบัญชี
บัญชี TFRS for SMEs ตอน กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
บัญชี TFRS for SMEs ตอน กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
การเงินการบัญชี
บัญชี TFRS for SMEs ตอน กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
บัญชี TFRS for SMEs ตอน กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ย้อนกลับ
บัญชี TFRS for SMEs ตอน กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
IFRS for SMEs กล่าวถึงงบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จและงบกาไรขาดทุนไว้ในบทที่ 5โดยกาหนดให้กิจการ SMEs แสดงกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวด กล่าวคือ ผลการดำเนินงานทางการเงินสาหรับงวด โดยแสดงไว้ในงบการเงินเดียวหรือแสดงแยกเป็นสองงบ
ความหมายของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หรือ Comprehensive Income หมายถึง การเปลี่ยนเเปลงในส่วนของเจ้าของหรือสินทรัพย์สุทธิของกิจการ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์หรือรายการอื่นที่ไม่ได้เกิดจากเจ้าของกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจะไม่รวมถึงการลงทุนโดยเจ้าของ (Investment by Owner) เช่น การเพิ่มทุน เเละการจ่ายคืนให้เจ้าของ (Distributionto Owner) เช่น การจ่ายเงินปันผลกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จหมายรวมถึงกาไรขาดทุนทั้งสิ้นของกิจการ ประกอบด้วยสองส่วนส่วนแรกเกิดจากผลการดาเนินงานของกิจการ(ซึ่งก็คือ กำไรขาดทุนสุทธิสำหรับงวด) อีกส่วนเรียกว่า “กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น” (OtherComprehensive Income: OCI) ซึ่งเป็นรายการที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (สินทรัพย์สุทธิ) ระหว่างต้นงวดกับปลายงวด ซึ่งก็คือ รายการกำไรขาดทุนที่รับรู้ในส่วนของเจ้าของโดยตรง ตัวอย่างเช่น กำไรขาดทุนจากการเพิ่ม (ลด) มูลค่าของหลักทรัพย์เผื่อขาย กำไรจากการตีมูลค่าสินทรัพย์ใหม่ กำไรขาดทุนจากการประมาณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยสำหรับโครงการบำนาญ เป็นต้น
แนวคิดของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา ข้อมูลเกี่ยวกับผลตอบเเทนจากการลงทุนอยู่กระจัดกระจายในหลายๆ ที่ เช่น งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน เเละงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ ดังนั้น งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจึงเกิดขึ้นเพื่อรวบรวมเเละสรุปผลกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จหรือผลตอบเเทนจากการลงทุนให้ผู้ใช้งบการเงินหรือนักลงทุนได้ทราบ ณ วันที่ต้องการวัดผลกำไรโดยทั่วไป ผู้ใช้งบการเงินมีความสนใจในผลกำไรของกิจการซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง ข้อมูลที่เกี่ยวกับกำไรเป็นข้อมูลทางการบัญชีซึ่งผู้ใช้งบการเงินต้องการทราบ ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจเช่น ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน จ่ายเงินปันผลเเละจ่ายภาษีเงินได้ เป็นต้น
แนวคิดการแสดงรายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร
การแสดงรายการกำไรในลักษณะที่แตกต่างกันในทางทฤษฎีบัญชีขึ้นอยู่กับแนวคิดเกี่ยวกับการแสดงรายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร ซึ่งมีอยู่สองแนวคิด คือ แนวคิด “ผลการดำเนินงานในปัจจุบัน” (The Current Operating Conceptof Income) และแนวคิด “รวมหมดทุกอย่าง” (The All - Inclusive Concept of Income orThe Clean - Surplus Concept)(1) แนวคิดผลการดำเนินงานในปัจจุบันแนวคิดนี้เน้นถึงประโยชน์ของตัวเลขกำไรคือ กำไรจากการดำเนินงานของกิจกรรมภายใต้สถานการณ์ตามปกติของกิจการ ดังนั้น การคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวดจะไม่รวมรายการซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจกรรมตามปกติ ตามวิธีนี้ รายการที่ไม่รวมในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิจะถือเป็นรายการปรับปรุงเข้ากำไรสะสมโดยตรงนอกจากนี้ แนวคิดนี้มุ่งที่จะวัดประสิทธิภาพของกิจการในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ทรัพยากรของกิจการดังกล่าวประกอบด้วย ที่ดิน แรงงานทุน และผู้บริหาร ดังนั้น งบกำไรขาดทุนจึงควรแสดงรายการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในงวดปัจจุบันเท่านั้น(2) แนวคิด “รวมหมดทุกอย่าง”แนวคิดนี้อ้างว่ากำไรมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูลมากที่สุด งบการเงินจึงควรรวมรายการต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มหรือการลดในส่วนของเจ้าของ (ยกเว้นการจ่ายเงินปันผล และรายการเกี่ยวกับทุน) แนวคิดนี้ทำให้กิจการคำนวณกำไรจากส่วนที่เปลี่ยนแปลงทั้งหมดในส่วนของเจ้าของ โดยการบันทึกรายการทั้งหมดที่ เกิดขึ้น หรือจากการตีราคาสินทรัพย์และหนี้สินขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ยกเว้นรายการที่เกี่ยวกับการจ่ายปันผล หรือรายการที่เกี่ยวกับทุน)รวมเข้าเป็นผลกำไรในงวดนั้นๆ โดยไม่คำนึงว่าเป็นผลจากการดำเนินงานหรือไม่ ขณะนี้งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (Comprehensive IncomeStatement) ใช้แนวคิดนี้
แนวคิดเกี่ยวกับทุนเเละการรักษาระดับทุน
รายการที่ประกอบขึ้นเป็นผลตอบเเทนจากการลงทุนในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จนั้น เป็นผลมาจาก “เเนวคิดเกี่ยวกับทุนเเละการรักษาระดับทุน” (Concept of Capital and Capital
Maintenance) เเนวคิดนี้เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับเเนวคิดเพื่อวัดผลกำไรโดยวัดจากสินทรัพย์สุทธิหรือทุนที่เปลี่ยนเเปลงกิจการสามารถรักษาระดับทุนได้ หากจำนวนทุน
เมื่อสิ้นงวดบัญชีเท่ากับจำนวนทุนเมื่อต้นงวดบัญชี จำนวนเกินกว่าทุนที่ต้องรักษาระดับไว้ก็คือ กำไรกำไรในความหมายของนักเศรษฐศาสตร์หมายถึง จำนวนที่สามารถบริโภคได้โดยไม่กระทบทุน นั่นคือหากสินทรัพย์สุทธิต้นงวดเท่ากับสินทรัพย์สุทธิปลายงวด ถือเป็นการรักษาระดับทุนที่คงที่ กล่าวคือ ไม่มีกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นหากสินทรัพย์สุทธิปลายงวดสูงกว่าสินทรัพย์สุทธิต้นงวด ส่วนที่เพิ่มขึ้น คือ กำไรสุทธิ ในขณะที่ส่วนที่ลดลง คือ ขาดทุนสุทธิกาไรเบ็ดเสร็จในที่นี้ จึงหมายถึง การเพิ่มขึ้นของส่วนทุน ซึ่งคำนวณจากส่วนทุนที่เหลืออยู่ ณ ตอนปลายงวดที่หักด้วยส่วนทุนที่มีอยู่ ณ ตอนต้นงวด ความหมายของกำไรเบ็ดเสร็จตามเเนวคิดเกี่ยวกับทุน ก็คือ การหามูลค่าสุทธิหรือมูลค่าของทุนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งผลเเตกต่างของสินทรัพย์สุทธิหรือมูลค่าของทุนณ วันต้นงวดกับวันปลายงวด คือ ผลที่ได้จากการดำเนินงาน ซึ่งก็คือ ส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทั้งหมดที่ผู้ลงทุนพึงได้รับจากการลงทุน หรือผลตอบเเทนจากการลงทุนหรือกำไรเบ็ดเสร็จนั่นเอง
lick
Download
รายละเอียดบัญชี TFRS for SMEs ตอน กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
คลิกได้ที่รูปภาพ
ข
อบคุณบทความจาก ::
สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย ::
www.prosofterp.com
338
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com