มารู้จักกับ "งบมูลค่าเพิ่ม"

มารู้จักกับ "งบมูลค่าเพิ่ม"



มารู้จักกับ "งบมูลค่าเพิ่ม"

กิจการจัดทำงบการเงินขึ้น เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน เเละกระเเสเงินสด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ เมื่อกล่าวถึงงบการเงินเเล้ว ผู้ใช้งบการเงินคงมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับงบแสดงฐานะการเงิน หรืองบดุลงบกำไรขาดทุน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบเเสดงการเปลี่ยนเเปลงในส่วนของเจ้าของ เเละงบกระเเสเงินสด อย่างไรก็ดี ยังมีงบการเงินอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งได้มีการกล่าวไว้ในมาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน (ย่อหน้าที่ 14) งบการเงินที่กล่าวถึงนี้คือ งบมูลค่าเพิ่ม (Value Added Statement)งบมูลค่าเพิ่มมีต้นกำเนิดมาจากยุโรปเเละเเพร่หลายไปสู่บริษัทนอกยุโรปอีกด้วย เช่นบริษัทในประเทศออสเตรเลียเเละเเอฟริกาใต้ เเต่สำหรับประเทศไทยนั้น ผู้ใช้งบการเงินคงยังไม่คุ้นเคยกับงบมูลค่าเพิ่มเนื่องจากกิจการในประเทศไทยยังไม่เคยจัดทำเเละนำเสนองบมูลค่าเพิ่ม ผู้ใช้งบการเงินในประเทศไทยอาจมองว่างบมูลค่าเพิ่มไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของตน หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงบมูลค่าเพิ่มไม่คุ้มกับต้นทุนที่ต้องเสีย (เช่นค่าใช้จ่ายในการจัดทำงบมูลค่าเพิ่ม) หรืออาจกล่าวได้ว่า เเทบจะไม่มีผู้ใช้งบการเงินในประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากงบมูลค่าเพิ่มเลย เเต่เพราะเหตุใดงบมูลค่าเพิ่มกลับเป็นที่นิยมอย่างเเพร่หลายในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเเถบทวีปยุโรป ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยที่จะเข้าใจถึงเเนวคิดเเละประโยชน์ของงบมูลค่าเพิ่ม เเละทำความรู้จักกับงบมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น ถึงเเม้ว่าในขณะนี้ ผู้ใช้งบการเงินในประเทศไทยจะยังไม่เรียกร้องข้อมูลที่นำเสนอในงบมูลค่าเพิ่มก็ตาม

แนวคิดของงบมูลค่าเพิ่ม
โดยทั่วไป ผู้ใช้งบการเงินประกอบด้วยผู้ลงทุน ลูกจ้าง ผู้ให้กู้ ผู้ขายสินค้าเเละเจ้าหนี้อื่นลูกค้า รัฐบาลเเละหน่วยงานราชการ เเละสาธารณชน ผู้ใช้งบการเงินเหล่านี้ใช้งบการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลที่เเตกต่างกันอย่างไรก็ดีการบัญชีเเบบดั้งเดิม (Conventionalor Traditional Accounting) มีข้อจำกัดตรงที่เน้นการรายงานให้กับกลุ่มผู้ใช้ข้อมูลที่เป็นผู้ถือหุ้น หรือผู้ลงทุนเป็นสำคัญ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้ใช้กลุ่มอื่นมากนัก ถึงเเม้ว่าเเม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2552) ของสภาวิชาชีพบัญชีฯ จะมิได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ใช้ข้อมูลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเเต่โดยนัยเเล้ว เเม่บทการบัญชีก็ให้ถือความต้องการของผู้ลงทุนเป็นเกณฑ์ในการกำหนดว่าข้อมูลใดในงบการเงินที่มีประโยชน์ ดังที่กล่าวไว้ในเเม่บทการบัญชี ย่อหน้าที่ 10 ว่า “เเม้ว่างบการเงินไม่อาจตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งบการเงินได้ทุกกลุ่ม เเต่ผู้ใช้ทุกกลุ่มก็มีความต้องการข้อมูลบางส่วนที่มีลักษณะร่วมกันตามปกติข้อมูลใดในงบการเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการลงทุนในกิจการ ข้อมูลเหล่านั้นก็จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งบการเงิน กลุ่มอื่นได้เช่นกัน”

Click Download รายละเอียดมารู้จักกับ "งบมูลค่าเพิ่ม"คลิกได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 432
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์