การวางแผนและควบคุมส่วนของเจ้าของ

การวางแผนและควบคุมส่วนของเจ้าของ



“ส่วนของเจ้าของ” (Owners’ Equity) หรืออาจเรียกว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น” (Shareholders’ Equity) เป็นส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์หลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว ส่วนของเจ้าของเป็นองค์ประกอบหนึ่งของงบการเงินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดฐานะการเงิน

>>> หลักการพื้นฐานทางบัญชีในการจัดประเภทส่วนของเจ้าของมีลักษณะแตกต่างกันตามประเภทของการดำาเนินธุรกิจ ตัวอย่างบัญชีในส่วนของเจ้าของ เช่น ทุนเรือนหุ้นส่วนเกินทุน กำไรสะสม เป็นต้น
ส่วนของเจ้าของกิจการแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1)  กิจการเจ้าของคนเดียว ส่วนของเจ้าของกิจการประกอบด้วย บัญชีทุน กำไรหรือขาดทุนสุทธิ และเงินใช้ส่วนตัว
2) ห้างหุ้นส่วน ส่วนของเจ้าของกิจการเรียกว่า “ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน” (Partners’Equity) ซึ่งหมายถึง สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนหักด้วยหนี้สิน ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบด้วยบัญชีทุน และบัญชีกระแสทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน
3) บริษัทจากัด ส่วนของเจ้าของกิจการเรียกว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น” (Shareholders’Equity) เป็นผลรวมของทุนจดทะเบียนตามกฎหมายของบริษัทที่แสดงอยู่ในรูปชนิดของหุ้นจำนวนและมูลค่าหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้นหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น และกำไรสะสม
บทบาทของนักบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีส่วนของเจ้าของ คือ การให้ข้อมูลสำหรับการบริหารที่เกี่ยวข้องกับส่วนของเจ้าของ การวิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของส่วนของเจ้าของ หน้าที่ของนักบัญชีที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
1) บันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของอยู่ภายใต้ขอบเขตของหลักการบัญชี รวมถึงการจัดประเภทรายการบัญชีในส่วนของเจ้าของให้ถูกต้อง
2) จัดทำรายงานสถานะและการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นของกิจการ เช่นงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เป็นต้น
3) วิเคราะห์ราคาตลาดของหุ้น และพิจารณาแนวโน้มของกำไรต่อหุ้น
4) จัดทำข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงิน โดยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับส่วนของเจ้าของ เช่น นโยบายการจ่ายเงินปันผล เงินปันผล การซื้อหุ้นคืนโครงสร้างเงินทุน กำไรต่อหุ้น ต้นทุนของเงินทุน ราคาตลาดของหุ้น อัตราผลตอบแทนของการลงทุน มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นกำไรต่อหุ้น อัตราเงินปันผลต่อกำไร ความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สินระยะยาวกับผู้ถือหุ้น
5) ควบคุมให้การบันทึกบัญชีทุนเรือนหุ้นแสดงถูกต้องตรงตามที่ได้รับอนุมัติโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น
6) กำหนดให้กิจการได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อจำกัด ข้อกำหนด และอื่นๆ เกี่ยวกับทุนกำไรสะสม และการจ่ายเงินปันผล
7) การบันทึกรายการ และเปิดเผยข้อมูลในส่วนของเจ้าของ เช่น ข้อมูลที่เปิดเผยในรายงานประจำปี รายงานเพื่อการบริหารเป็นต้น
8) การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเงินทุนว่าควรจัดการโครงสร้างเงินทุนของกิจการด้วยวิธีการใดจึงเหมาะสมมากที่สุด(ระหว่างการเพิ่มทุนในรูปแบบของหนี้สิน หรือการเพิ่มทุนโดยการเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้น)


Click
Download รายละเอียดการวางแผนและควบคุมส่วนของเจ้าของ คลิกได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 852
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์