• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/พ.12532 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำเข้าสินค้า ตามประกาศ(ฉบับที่ 80)ฯ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541

เลขที่หนังสือ กค 0811/พ.12532 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำเข้าสินค้า ตามประกาศ(ฉบับที่ 80)ฯ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/พ.12532 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำเข้าสินค้า ตามประกาศ(ฉบับที่ 80)ฯ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541

เลขที่หนังสือ กค 0811/พ.12532 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำเข้าสินค้า ตามประกาศ(ฉบับที่ 80)ฯ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541

เลขที่หนังสือ : กค 0811/พ.12532

วันที่ : 14 ธันวาคม 2542

เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำเข้าสินค้า ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80)ฯ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541

ข้อกฎหมาย : มาตรา77/1(8), มาตรา81(2)(ข), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80)พ.ศ.2541

ข้อหารือ : บริษัทฯ ตั้งอยู่ในเขตส่งออกนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ
สำหรับใช้ในอาคาร และชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศเพื่อส่งออก ได้ซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจาก A ผู้ขาย
ภายในประเทศ ทั้งนี้ A ได้นำเข้าจาก B ผู้ขายอีกรายที่อยู่ในต่างประเทศ โดย Invoice ที่ B ส่ง
วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนเข้ามาในประเทศไทยนั้น ระบุให้ส่งวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนมาที่บริษัทฯ ส่วนชื่อผู้ซื้อใน
Invoice ฉบับดังกล่าว จะระบุชื่อของ A เมื่อบริษัทฯ ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ
ด่านศุลกากร บริษัทฯ ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าเนื่องจากตั้งอยู่ในเขตส่งออกของนิคมอุตสาหกรรม
ลาดกระบัง หลังจากนั้น A จะทำการชำระค่าวัตถุดิบ หรือค่าชิ้นส่วนให้กับ B โดยตรงแล้วจึงทำ
Invoice แจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บเงินกับทางบริษัทฯ
จึงหารือว่า Invoice ที่ A เรียกเก็บค่าวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนกับบริษัทฯ ไม่ต้องเรียกเก็บ
ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80)ฯ ลงวันที่ 1
ตุลาคม พ.ศ. 2541 ถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย : กรณีบริษัทฯ ตั้งอยู่ในเขตส่งออกนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เมื่อนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน
จึงได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น
Invoice ที่ A เรียกเก็บกับบริษัทฯ จึงต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนด้วย
เพราะเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร
ไม่ได้รับสิทธิที่จะไม่ต้องนำมูลค่าของชิ้นส่วนรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80)ฯ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 แต่
อย่างใด ประกอบกับหนังสือซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 80)ฯ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541

เลขตู้ : 62/28690


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 469
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores