• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/พ.12498 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการรับประกันวินาศภัย

เลขที่หนังสือ กค 0811/พ.12498 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการรับประกันวินาศภัย

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/พ.12498 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการรับประกันวินาศภัย

เลขที่หนังสือ กค 0811/พ.12498 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการรับประกันวินาศภัย

เลขที่หนังสือ : กค 0811/พ.12498

วันที่ : 13 ธันวาคม 2542

เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการรับประกันวินาศภัย

ข้อกฎหมาย : มาตรา79, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542

ข้อหารือ : บริษัท ก จำกัด ได้เรียกเก็บค่าเบี้ยประกันภัย และค่าอากรแสตมป์จากลูกค้า
ผู้เอาประกันภัย บริษัทฯ จึงหารือว่า
1. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้คำนวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเบี้ยประกันภัยสุทธิ บวกค่า
อากรแสตมป์ หรือคำนวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเบี้ยประกันภัยสุทธิเท่านั้น
2. ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้ จำเป็นต้องมีเศษสตางค์ทุกครั้งหรือไม่
มีความเห็นว่า การรับประกันวินาศภัยเข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ตามมาตรา
77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จะต้องนำค่าเบี้ยประกัน และค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับจาก
ผู้เอาประกันมาเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะถือเป็นมูลค่าทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้รับ หรือ
พึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และหากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษ
สตางค์ ต้องแสดงเศษสตางค์นั้นไว้ในใบกำกับภาษีด้วย

แนววินิจฉัย : 1. การประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัยถือเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10)
แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ผู้ประกอบการนำมูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ รวมถึง
เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินมารวมเป็นมูลค่า
ของฐานภาษีในการคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนั้น บริษัทฯ จะต้องนำค่าเบี้ยประกันและค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยมา
คำนวณเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด เพราะถือเป็นมูลค่าทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้รับหรือพึงได้รับจากการ
ให้บริการตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและปรากฏว่ามีเศษสตางค์ ให้บริษัทฯ แสดงเศษสตางค์
นั้นไว้ในใบกำกับภาษีด้วย โดยถือปฏิบัติตามข้อ 4(6) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มี
ลักษณะเป็นแบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

เลขตู้ : 62/28676


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th 
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 548
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores