• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/17840 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ กรณีบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกา

เลขที่หนังสือ กค 0811/17840 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ กรณีบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกา

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/17840 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ กรณีบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกา

เลขที่หนังสือ กค 0811/17840 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ กรณีบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกา

เลขที่หนังสือ : กค 0811/17840

วันที่ : 29 ธันวาคม 2540

เรื่อง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ กรณีบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540 ได้จัดตั้งรับโอนและโอนอสังหาริมทรัพย์

ข้อกฎหมาย : ประเด็นปัญหา

ข้อหารือ : ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่
10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2540 มาตรา 5 เตรส กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบกิจการให้แก่บริษัทจำกัด ที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540 ได้จัดตั้งขึ้น และการขายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจำกัด ที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2540 ได้จัดตั้งขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดให้มีการยกเว้นอากรแสตมป์ไว้ด้วย ประกอบกับตามลักษณะตราสาร 28 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดการยกเว้นอากรแสตมป์เฉพาะใบรับ สำหรับจำนวนเงินที่ผู้รับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ดังนั้น การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบกิจการให้แก่บริษัทจำกัด ที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540 ได้จัดตั้งขึ้น และการขายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้จัดตั้งขึ้นดังกล่าว จะได้รับยกเว้นอากรแสตมป์ หรือไม่ และกรณีเช่นนี้จะต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือไม่

แนววินิจฉัย :  1. อากรแสตมป์ในกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบกิจการให้แก่บริษัทจำกัด ที่
สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540 ได้จัดตั้งขึ้น และกรณีบริษัทจำกัดดังกล่าวได้โอนกรรมสิทธิ์กลับคืนให้แก่ผู้ประกอบการรายเดิม การโอนกรรมสิทธิ์ทั้งสองกรณีดังกล่าวต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ใบรับสำหรับจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะแห่งตราสาร 28 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์อันเป็นบทบัญญัติหลัก แม้ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2540 ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 5 เตรส ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่การขาย อสังหาริมทรัพย์ ผลของพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวไม่มีผล
ลบล้างการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามบทบัญญัติหลักให้กลับมาเสียอากรแสตมป์ได้ ดังนั้น ทั้งสองกรณีดังกล่าวยังคงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามข้อยกเว้นในลักษณะแห่ง
ตราสาร 28 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์
(1) กรณีผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทจำกัด ที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2540 ได้จัดตั้งขึ้น และกรณีบริษัทจำกัดดังกล่าว ได้โอนกรรมสิทธิ์กลับคืนให้แก่ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลอยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(2) กรณีผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทจำกัด
ที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540 ได้จัดตั้งขึ้นอยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (5) หรือ (6) ตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ : 60/26259


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th 
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 409
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores