• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ vกค 0811/17501 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

เลขที่หนังสือ vกค 0811/17501 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ vกค 0811/17501 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

เลขที่หนังสือ vกค 0811/17501 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

เลขที่หนังสือ : กค 0811/17501

วันที่ : 23 ธันวาคม 2540

เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

ข้อกฎหมาย : ประเด็นปัญหา

ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตสินค้าประเภทชิ้นส่วนรถยนต์ ส่งขายภายในประเทศ เริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และบริษัทฯ ทำการประกอบการผลิต ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2538 โดยบริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับการผลิตพวงมาลัยรถยนต์ ชิ้นส่วนภายในและภายนอกรถยนต์ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 7 ปี
ในปี 2538 และปี 2539 บริษัทฯ ประกอบกิจการทั้งในส่วนที่ได้รับการส่งเสริมฯ และใน
ส่วนที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ โดยมีผลประกอบการ ดังนี้

ปี
กิจการส่วนที่ได้รับส่งเสริมฯ
กิจการส่วนที่ไม่ได้รับส่งเสริมฯ
กำไร (ขาดทุน) สุทธิรวม
กำไรสุทธิ
ขาดทุนสุทธิ
กำไรสุทธิ
ขาดทุนสุทธิ
2538
(26,715,745.93)
3,667,645.63
(23,048,100.30)
2539
11,088,610.93
25,258,015.09
36,346,626.02

จากรายละเอียดข้างต้น บริษัทฯ ได้คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการนำผลขาดทุนสะสมยกมาจากปี
2538 (23,048,100.30) มาหักออกจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ ในปี 2539
จำนวน 25,258,015.09 แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงหารือว่าการคำนวณ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ประจำปี 2539 ดังกล่าวเป็นวิธีการคำนวณที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง ควรมี
การคำนวณอย่างไร นั้น

แนววินิจฉัย :  1. ในกรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้คำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน แต่ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้นำกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมารวมเข้าด้วยกัน กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ต้องปฏิบัติดังนี้
1.1 ในปี 2538 บริษัทฯ มีสิทธิ์นำผลขาดทุนจำนวน 26,715,745.93 บาท ของกิจการส่วนที่ได้รับการส่งเสริม ไปหักจากกำไรจำนวน 3,667,645.63 บาท ของกิจการส่วนที่ไม่ได้รับการส่งเสริมได้ ซึ่งจะมีผลขาดทุนสุทธิรวม 23,048,100.30 บาท บริษัทฯ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2538 ตามข้อ 4.2(ก) แห่งประกาศกรมสรรพากร เรื่องการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
1.2 ในปี 2539 บริษัทฯ มีสิทธิ์นำผลขาดทุนสะสมของปี 2538 จำนวน 23,048,100.30 บาท ตาม 1.1 มาหักออกจากกำไรสุทธิส่วนที่ไม่ได้รับการส่งเสริมจำนวน 25,258,015.09 บาท ในปี 2539 ซึ่งจะมีผลกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2539 จำนวน 2,209,914.79 บาท โดยไม่จำเป็นต้องนำไปหักออกจากกำไรสุทธิส่วนที่ได้รับการส่งเสริมจำนวน 11,088,610.93 บาท ก่อนแต่อย่างใด ตามข้อ 4.2(ข) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ประกอบกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 35/2540 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การนำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนไปหักภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2540
2. สำหรับขาดทุนของกิจการส่วนที่ได้รับการส่งเสริมในปี 2538 จำนวน 26,715,745.93 บาท บริษัทฯ จะนำไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 35/2540 ฯ ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2540 อีกไม่ได้ เนื่องจากบริษัทฯ ได้ใช้สิทธินำผลขาดทุนดังกล่าวไปหักออกจากกำไรของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมในปี 2538 และปี 2539 จนหมดทั้งจำนวนแล้ว

เลขตู้ : 60/26240


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th 
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 777
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores