• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/687 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจากการส่งเสริมการขาย

เลขที่หนังสือ กค 0702/687 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจากการส่งเสริมการขาย

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/687 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจากการส่งเสริมการขาย

เลขที่หนังสือ กค 0702/687 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจากการส่งเสริมการขาย

เลขที่หนังสือ : กค 0702/687
วันที่ : 28 มกราคม 2559
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจากการส่งเสริมการขาย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัทฯ ขอหารือภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจากการส่งเสริมการขาย โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ ดังนี้
            1. บริษัทฯ ประกอบกิจการนำเข้าเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์จากประเทศบัลแกเรีย เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย และต่างประเทศ บริษัทฯ มีรายการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขาย โดยให้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารสัตว์ (Feed Assays Analysis) กับลูกค้าทุกรายที่ซื้อเวชภัณฑ์ของบริษัทฯซึ่งมีการระบุชัดเจนในใบเสนอราคา แต่มิได้ทำเป็นหนังสือสัญญาลงลายมือชื่อทั้ง 2 ฝ่าย
            2. การตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารสัตว์ คือ การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณยาเป็นมิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร หลังจากที่ลูกค้านำยาของบริษัทฯ ไปผสมในสูตรการผลิตอาหารสัตว์ของลูกค้าว่าภายหลังจากการผ่านกระบวนการความร้อนแล้วปริมาณยามีการกระจายตัวในปริมาณที่เหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ และไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ การตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว บริษัทฯ จะส่งตัวอย่างอาหารสัตว์ของลูกค้าไปตรวจวิเคราะห์ในห้องแล็ปทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ บัลแกเรีย เป็นต้น สำหรับค่าใช้จ่ายที่ห้องแล็ปส่งใบเรียกเก็บเงินมานั้น บริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด โดยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายแสดงอยู่ในงบกำไรขาดทุนในส่วนของรายจ่ายเกี่ยวกับการขาย
            3. ขั้นตอนในการตกลงซื้อขายจนถึงการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารสัตว์ให้กับลูกค้า ดังนี้
              3.1 ลูกค้าส่ง email ถึงบริษัทฯ เพื่อแจ้งประเภทสินค้าและจำนวนที่ต้องการสั่งซื้อ
              3.2 บริษัทฯ ส่ง email และใบเสนอราคากลับไปยังลูกค้า เพื่อเสนอขายสินค้าพร้อมให้บริการการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารสัตว์
              3.3 ลูกค้าจัดส่งใบสั่งซื้อ เพื่อสนองการซื้อขายดังกล่าว
              3.4 บริษัทฯ ออกใบเรียกเก็บเงินค่าสินค้า
              3.5 ลูกค้าส่ง email แจ้งมายังบริษัทฯ ว่าต้องการให้ตรวจสอบอาหารสัตว์ที่ได้ผสมตัวยาที่ซื้อจากบริษัทฯ ว่ามีอัตราส่วนเหมาะสมหรือไม่
              3.6 บริษัทฯ รอรับผลจากห้องแล็ป ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน และส่งรายงานผลการตรวจสอบให้แก่ลูกค้า
            4. บริษัทฯ ขอทราบว่า ค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารสัตว์นำมาคำนวณเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ หรือถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย             กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ จ่ายค่าการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารสัตว์แทนลูกค้าที่ซื้อสินค้าของบริษัทฯ ไปใช้ในการประกอบกิจการของลูกค้า เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขายสินค้าของบริษัทฯ หากบริษัทฯ จ่ายแทนลูกค้าทุกรายเป็นการทั่วไปตามนโยบายส่งเสริมการขายของบริษัทฯ ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งในใบเสนอราคาสินค้า รายจ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา และถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 79/39987


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 390
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores