• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/9205 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย

เลขที่หนังสือ กค 0702/9205 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/9205 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย

เลขที่หนังสือ กค 0702/9205 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย

เลขที่หนังสือ : 0702/9205
วันที่ : 8 ตุลาคม 2558
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           1.บริษัทA ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้า และให้บริการด้านระบบอัตโนมัติ ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร ค.10 จำนวน 2 ฉบับ
          2.ผลการตรวจปรากฏว่า เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 และวันที่ 15 สิงหาคม 2554 บริษัทA จำกัด ได้จ่ายชำระค่าสินค้าจากการซื้อหม้อแปลงไฟฟ้า และตู้ระบบควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมทั้งอุปกรณ์ป้องกันเมื่อเกิดการลัดวงจรในสถานีไฟฟ้ากับ บริษัทB บริษัทC จำกัด และบริษัท D จำกัด โดยหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ แต่ปรากฏว่าผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย เป็นผู้ผลิตสินค้าจำหน่าย จึงเป็นการขายสินค้าที่ไม่ใช่การให้บริการ ซึ่งไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย บริษัทA จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 แต่อย่างใด โดยบริษัทA จำกัด ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไว้ แต่ได้จ่ายคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับทั้ง 3 ราย ด้วยเช็คธนาคารฯ และได้รับคืนต้นฉบับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้ง 3 ฉบับ ไว้แล้ว จึงขอหารือว่า กรณีผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยนำเงินของตนจ่ายคืนให้กับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และขอคืนต้นฉบับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ดำเนินการยกเลิกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ปรับปรุงให้ถูกต้องแล้ว และสามารถตรวจสอบเอกสารด้านผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จนทราบได้ว่า ไม่ได้นำภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักและนำส่งแล้ว มาลงรายการบัญชี รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย และไม่ได้นำไปเครดิตภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกหักภาษีไว้ จะถือว่าผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นผู้เสียประโยชน์จากการชำระหรือนำส่งภาษีไว้เกิน หรือผิด หรือซ้ำ หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย จึงเป็นผู้มีสิทธิขอคืนภาษีได้ตามกฎหมายหรือไม่
แนววินิจฉัย           กรณีบริษัทA ได้จ่ายเงินค่าสินค้าให้กับบริษัทB บริษัทC และบริษัทฯ โดยหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากรไว้แล้ว แต่เนื่องจากการจ่ายเงินค่าสินค้าดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 บริษัทA จึงได้คืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้กับบริษัททั้งสามแห่งพร้อมทั้งเรียกคืนต้นฉบับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้ง 3 ฉบับ โดยบริษัททั้งสามแห่งมิได้นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวไปเครดิตภาษีในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2554 แต่อย่างใด ดังนั้น บริษัทA เป็นผู้เสียประโยชน์จากการนำส่งภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องนำส่ง จึงอยู่ในฐานะผู้มีสิทธิขอคืนภาษีตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 78/39893


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 1280
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores