• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/560 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม

เลขที่หนังสือ กค 0702/560 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/560 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม

เลขที่หนังสือ กค 0702/560 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม

เลขที่หนังสือ : กค 0702/560
วันที่ : 21 มกราคม 2558
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัทฯ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน - บาท กรรมการของบริษัทมี 6 คน กรรมการผู้มีอำนาจ คือ นาย ฮ. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ สำนักงานใหญ่ บริษัทฯ ไม่มีสำนักงานสาขา และมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มวันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี บริษัทฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2543 ประกอบกิจการประเภทให้บริการพิธีการศุลกากร freight forwarding ตัวแทนให้บริการขนส่ง ขนถ่ายสินค้า บริษัทฯ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
แนววินิจฉัย           1.กรณีบริษัทฯ นำเงินทุนหมุนเวียนบางส่วน (เงินฝาก) ไปให้บริษัท B จำกัด ซึ่งถือหุ้นบริษัทฯ ร้อยละ 42.499 กู้ยืมเงินโดยมีการทำสัญญาและออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋ว P/N ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2550 จำนวน 1 ฉบับ มูลค่าเงินในตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 30,000,000 บาท บริษัท Bจำกัด ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋ว P/N เป็นผู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในตั๋วสัญญาใช้เงิน หรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อเป็นผลตอบแทนให้แก่บริษัทฯ ตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดขึ้น โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทฯ สามารถดึงเงินออกทั้งจำนวน หรือบางส่วนได้เมื่อทวงถาม และการชำระคืนตั๋วสัญญาใช้เงินเผื่อเรียกจะชำระคืนภายในสองวันทำการ โดยบริษัทฯ ต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรโดยใช้แบบฟอร์มขอชำระคืนให้กับ บริษัท Bจำกัด กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืมเงิน หากการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่มีดอกเบี้ย หรือมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงิน ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
          2.กรณีตามข้อเท็จจริงที่บริษัท ฯ แจ้งว่า เงินทุนหมุนเวียนบางส่วน (เงินฝาก) ที่บริษัทฯ นำไปให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืมนั้น มีแหล่งที่มาจากการทำธุรกิจของบริษัทฯ เอง ในเบื้องต้นจึงมีประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาว่า บริษัทฯ ได้รับเงินทุนหมุนเวียนดังกล่าวมาจากแหล่งเงินใด หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า เงินทุนหมุนเวียนบางส่วน (เงินฝาก) ที่บริษัทฯ นำไปให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืมนั้น เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ได้มาจากเงินทุนจดทะเบียนได้รับชำระมูลค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้น หรือเงินกำไรสะสมจากการประกอบกิจการของบริษัทฯ ฯลฯ ถือเป็นกรณีบริษัทฯ นำเงินของบริษัทฯ ที่มีอยู่ไปให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืมหากเงินทุนหมุนเวียนที่บริษัทฯ นำไปให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืม เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ได้จากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือบุคคลภายนอก ฯลฯ เพื่อนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ ถือเป็นกรณีบริษัทฯ นำเงินที่กู้ยืมมาจากบุคคลอื่นไปให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืม
          3.กรณีบริษัทฯ ให้บริษัท B จำกัด กู้ยืมเงิน บริษัทฯ ต้องคิดดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยที่ได้ตกลงกัน แต่ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าราคาตลาด ในวันที่ให้กู้ยืมเงิน ดังนั้น
               (1)กรณีบริษัทฯ นำเงินของตนที่มีอยู่ไปให้กู้ยืม อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับหรือควรจะได้รับ ให้คิดตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารประเภทเงินฝากประจำในเวลาที่มีการกู้ยืม
               (2)กรณีบริษัทฯ นำเงินที่กู้ยืมมาจากบุคคลอื่นไปให้กู้ยืม อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับหรือควรจะได้รับ ให้คิดตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ได้ให้กู้ยืมเงินที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในเวลาที่บริษัทฯ ได้กู้ยืมเงินมาทั้งนี้ กรณีบริษัทฯ นำเงินไปให้กู้ยืม โดยไม่สามารถแยกแหล่งเงินทุนได้ว่ามาจากเงินของตนที่มีอยู่หรือเงินที่กู้ยืมมาจากบุคคลอื่น ให้คิดดอกเบี้ยที่ได้รับในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในเวลาที่บริษัทฯ ได้กู้ยืมเงินมา
เลขตู้ : 78/39466


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 388
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores