• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1151 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ราย บริษัท บ. (ประเทศไทย) จำกัด)

เลขที่หนังสือ กค 0702/1151 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ราย บริษัท บ. (ประเทศไทย) จำกัด)

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1151 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ราย บริษัท บ. (ประเทศไทย) จำกัด)

เลขที่หนังสือ กค 0702/1151 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ราย บริษัท บ. (ประเทศไทย) จำกัด)

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1151
วันที่ : 28 มกราคม 2558
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ราย บริษัท บ. (ประเทศไทย) จำกัด)
ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           1. บริษัทฯ หรือผู้ให้เช่า ประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง กับ บริษัท ต. (เดิมชื่อบริษัทป. จำกัด) เช่าเครื่องถ่ายเอกสารจำนวน 9 เครื่อง ค่าเช่าเดือนละ 58,400 บาท ระยะเวลาการเช่า 36 เดือน สรุปได้ ดังนี้
          ข้อ 11 การสูญหายและเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า
               11.1 นับจากวันแรกของระยะเวลาในการเช่าตามที่กล่าวถึงในข้อ 2 ของสัญญานี้ ผู้เช่าตกลงรับผิดชอบและรับการเสี่ยงภัยทั้งหลายเกี่ยวกับการสูญหาย หรือความเสียหายของทรัพย์สินที่เช่าทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม (ยกเว้นการชำรุดทรุดโทรมและการเสื่อมสภาพตามปกติ)
               11.2 ในกรณีที่เกิดการสูญหายหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่า ผู้เช่าจะต้องกระทำการดังต่อไปนี้โดยพลัน ตามที่ผู้ให้เช่ากำหนดโดยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง
                    ก) เปลี่ยนทรัพย์สินที่เช่าด้วยทรัพย์สินที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน มีสภาพดี และทำงานได้เรียบร้อย หรือ
                    ข) จัดการให้ทรัพย์สินที่เช่าอยู่ในสภาพที่ดีและทำงานได้เรียบร้อย
               11.3 แม้ว่าข้อความในข้อ 11.2 ข้างต้นจะกำหนดไว้เป็นประการใดก็ตาม หากเกิดกรณีทรัพย์สินที่เช่าทั้งหมดสูญหายไปไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ (รวมทั้งความเสียหายที่ไม่อาจซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเช่นเดิมได้ หรือเกิดกรณีหนึ่งกรณีใดตามที่กล่าวไว้ และไม่สามารถทำให้ทรัพย์สินที่เช่าหลุดพ้นจากการกระทำดังกล่าว) ผู้เช่าต้องชำระมูลค่าสูญหายตามที่กำหนดไว้ในรายการที่ (6) ของตารางต่อท้ายให้แก่ผู้ให้เช่าตามมูลค่าในปีที่เกิดเหตุดังกล่าว
               11.4 ในกรณีที่มีการบังคับตามความใน ข้อ 11.2 ให้สัญญาเช่าฉบับนี้ยังคงมีผลอยู่ต่อไปโดยไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เช่ายังต้องชำระค่าเช่าต่อไปตามปกติ ในกรณีที่มีการบังคับตามความใน ข้อ 11.3 ทำให้สัญญาเช่าฉบับนี้สิ้นสุดลงเมื่อมีการชำระมูลค่าสูญหายที่กำหนดไว้แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้ชำระมูลค่าสูญหายที่กำหนดไว้ ผู้เช่ายังคงต้องชำระค่าเช่าอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ชำระมูลค่าสูญหายที่กำหนดไว้เสร็จสิ้นครบถ้วน
          ข้อ 16 การผิดนัดและการสิ้นสุดของสัญญา
               16.1 กรณีดังต่อไปนี้ ถือเป็นกรณีผิดสัญญา
               ก) ผู้เช่ามิได้ชำระค่าเช่าหรือเงินอื่นใดที่ต้องชำระตามสัญญานี้
               16.2 เมื่อเกิดกรณีการผิดสัญญา ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที โดยแจ้งให้ผู้เช่าทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งในกรณีนั้น ถือว่าผู้เช่าไม่มีสิทธิถือครองทรัพย์สินที่เช่าอีกต่อไปด้วยความยินยอมของผู้ให้เช่า และผู้เช่ายินยอมตกลงในเรื่องต่อไปนี้ โดยผู้ให้เช่าไม่ต้องมีหนังสือแจ้งใดๆ อีก
               ข้อ 18 สิทธิในการซื้อทรัพย์สินที่เช่า ผู้เช่ามีสิทธิที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าในราคาตามที่กำหนดไว้ในรายการที่ (7) ของตารางต่อท้าย (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "ราคาซื้อขาย") ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของสัญญานี้โดยครบถ้วน รวมทั้งการชำระค่าเช่าทั้งหมดและจำนวนเงินอื่นใดที่ครบกำหนดชำระตามสัญญานี้ และภายหลังจากที่ได้แจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบเจตนารมณ์ในการซื้อเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่ต่ำกว่าสองเดือน ก่อนครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามสัญญานี้ หนังสือแจ้งถึงเจตนารมณ์นี้มิอาจเพิกถอนได้ และมีผลผูกพันผู้เช่า เมื่อผู้ให้เช่ายอมรับหนังสือแจ้งดังกล่าวแล้ว ผู้เช่าจะต้องชำระราคาทรัพย์สินตามราคาซื้อขายและเงินอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย (ตามรูปแบบที่ผู้ให้เช่ากำหนด) ซึ่งทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย สัญญาจะซื้อจะขายนั้นถือเป็นหลักฐานที่เพียงพอสำหรับการขายและการส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า หรือส่วนประกอบอื่นๆ ของทรัพย์สินที่เช่า (แล้วแต่กรณี) ให้แก่ผู้เช่า
          2. ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้ทรัพย์สินที่เช่าได้รับความเสียหาย บริษัทฯ กับผู้เช่าได้ทำการแก้ไขสัญญาเช่า จากเดิมเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร จำนวน 9 เครื่อง ค่าเช่าเดือนละ 58,400 บาท แก้ไขเป็นการเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร จำนวน 8 เครื่อง ค่าเช่าเดือนละ 50,600 บาท เริ่มตั้งแต่งวดที่ 21 ถึง งวดที่ 36 เป็นต้นไปจนสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 16 มีนาคม 2555
          3. กรณีเครื่องถ่ายเอกสารได้รับความเสียหาย 1 เครื่อง จากเดิม 9 เครื่อง และบริษัทฯ ประกัน ได้ประเมินความเสียหายและระบุว่าไม่สามารถซ่อมแซมได้ (Total Lose) จึงได้ประเมินค่าสินไหมทดแทนซึ่งผู้เช่าได้ชำระให้แก่บริษัทฯ แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมยอดหนี้คงค้างที่มีอยู่กับทางบริษัทฯ ผู้เช่าจึงต้องชำระส่วนต่างที่เหลือ ซึ่งผู้เช่าได้ชำระค่าเช่าก่อนเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม งวดที่ 1 ถึง 19 แล้ว และต้องชำระหนี้คงค้างงวดที่ 20 ถึง 36 บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
               3.1 ผู้เช่าต้องการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ค่าเช่างวดที่ 1 ถึง 19 สำหรับเครื่องถ่ายเอกสารที่ได้รับความเสียหายย้อนหลัง เนื่องจากผู้เช่าเห็นว่า สัญญาสิ้นสุดลงก่อนครบอายุสัญญาเช่า 3 ปี ถูกต้องหรือไม่อย่างไร
               3.2 ยอดหนี้คงค้างต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย           กรณี บริษัทฯ ได้ทำสัญญาให้ บริษัท ต. เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร จำนวน 9 เครื่อง ค่าเช่าเดือนละ 58,400 บาท เป็นระยะเวลา 36 เดือน (3 ปี) ต่อมาเกิดอุทกภัย และทรัพย์สินที่ให้เช่าเกิดความเสียหาย ซึ่งไม่เป็นเหตุให้สัญญาเช่าดังกล่าวสิ้นสุดลง ตามข้อ 16 ของสัญญาเช่า และบริษัทฯ ผู้ให้เช่า กับ บริษัท ต. ผู้เช่า ได้ทำการแก้ไขสัญญาเช่าเกี่ยวกับจำนวนเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นจำนวน 8 เครื่อง และจำนวนเงินค่าเช่าเหลือเดือนละ 50,600 บาท โดยให้สัญญาเช่ายังคงมีผลบังคับต่อไป ตั้งแต่การชำระค่าเช่างวดที่ 21 จนสิ้นสุดระยะเวลาการเช่า หากสัญญาให้เช่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง โดยบริษัทฯ ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินและนำออกให้เช่าโดยให้คำมั่นว่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า บริษัท ต. ผู้เช่ามีสิทธิเลือกที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือส่งคืนทรัพย์สินนั้นให้ผู้ให้เช่าก็ได้ ตามข้อ 18 ของสัญญาเช่า และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
          1.ผู้ให้เช่าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ได้รับชำระแล้ว ไม่ตำกว่า 60 ล้านบาท และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
          2.ผู้เช่าเป็นนิติบุคคล
          3.กำหนดเวลาเช่า ต้องมีระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป เว้นแต่ทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นทรัพย์สินที่ผู้ให้เช่ายึดมาจากผู้เช่ารายอื่น ระยะเวลาในการเช่าอาจไม่ถึง 3 ปี ก็ได้ดังนั้น บริษัทฯ ผู้ให้เช่าจึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ตามข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.176/2552ฯ ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552
เลขตู้ : 78/39472


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 498
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores