• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/8847 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการเช่าห้องพักและบริหาร จัดการห้องชุด

เลขที่หนังสือ กค 0702/8847 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการเช่าห้องพักและบริหาร จัดการห้องชุด

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/8847 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการเช่าห้องพักและบริหาร จัดการห้องชุด

เลขที่หนังสือ กค 0702/8847 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการเช่าห้องพักและบริหาร จัดการห้องชุด

เลขที่หนังสือ : กค 0702/8847
วันที่ : 10 ตุลาคม 2556
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการเช่าห้องพักและบริหารจัดการห้องชุด
ข้อกฎหมาย : การให้บริการเช่าห้องพักและบริหารจัดการห้องชุด
ข้อหารือ           1. บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการให้เช่า และบริหารจัดการห้องชุดแบบเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ โดยนำห้องชุดในโครงการ อ. ประมาณ 100-150 ห้อง ให้เช่าเป็นรายวัน รายเดือน และรายปี ซึ่งการให้บริการดังกล่าวบริษัทฯ จัดให้มีพนักงานทำความสะอาดห้อง บริการ ซักรีด อินเทอร์เน็ต เคเบิ้ลทีวี พร้อมทั้งสาธารณูปโภค โดยบริษัทฯ จะรียกเก็บค่าเช่าและค่าบริการ จากลูกค้า โดยตรง
          2. เจ้าของห้องชุดในโครงการ อ. (เจ้าของห้องชุดฯ) สามารถนำห้องชุดของตนมาเข้าร่วมโครงการเพื่อให้บริษัทฯ เป็นผู้จัดการ โดยเจ้าของห้องชุดฯ จะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าให้บริษัทฯ เพื่อใช้เป็นทุนในการดำเนินงานในอัตราต่อตารางเมตรตามที่ระบุไว้ในสัญญาบริหารเงินกองกลางจากการให้เช่าห้องชุด (สัญญาฯ) โดยเจ้าของห้องชุดฯ จะได้รับค่าเช่าเป็น 2 ส่วน คือ
               ตามอัตราส่วนของมูลค่าแต่ละรายตามที่กำหนดไว้ในสัญญาฯ
               2.2 ส่วนแบ่งจากรายได้สุทธิซึ่งคำนวณจากรายได้จากการดำเนินงาน หักด้วยค่าเช่าตาม 2.1 และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เงินเดือน ค่าจ้างและผลตอบแทนอื่น ๆ ของพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าบำรุงรักษา ค่าตัดจำหน่าย ค่าเสื่อมราคาซอฟแวร์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาด ค่านายหน้า ค่าโฆษณา รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกลุ่มห้องชุดที่บริการ เป็นต้น เหลือเป็นรายได้สุทธิ และคำนวณทุกสองเดือนไม่ต้องรอถึงสิ้นปี โดยไม่รวมดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยจ่าย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของบริษัทฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกลุ่มห้องชุดที่บริการ
          ทั้งนี้ ในสัญญาฯ ยังกำหนดว่า บริษัทฯ จะได้รับค่าตอบแทนจากการให้บริการบริหารงานในอัตราร้อยละสองของรายได้จากการดำเนินงาน รวมอัตราร้อยละของกำไรจากการดำเนินงานโดยสุทธิจากบรรดาภาษีด้วย
          3. บริษัทฯ ขอหารือว่าความเข้าใจดังต่อไปนี้ ถูกต้องหรือไม่
               3.1 บริษัทฯ ดำเนินกิจการแบบเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ ให้เช่าห้องพักเป็นรายวัน รายเดือนหรือรายปี โดยจัดให้มีพนักงานทำความสะอาดห้อง บริการซักรีด อินเทอร์เน็ต เคเบิ้ลทีวี พร้อมทั้งสาธารณูปโภค โดยบริษัทฯ เข้าใจว่าการให้เช่า และบริการดังกล่าว เข้าลักษณะการดำเนินธุรกิจทำนองเดียวกับโรงแรมเป็นการให้บริการตามาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายได้ค่าเช่าและค่าบริการต่าง ๆ รวมกัน
               3.2 บริษัทฯ สามารถนำค่าเช่าตามข้อ 2.1 และ 2.2 มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และค่าเช่าตาม 2.2 ไม่ถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5.0 ของค่าเช่าตามข้อ 2.1 และ 2.2 ที่จ่ายให้แก่เจ้าของห้องชุดฯ แต่ละราย
แนววินิจฉัย           1. กรณีบริษัทฯ นำห้องชุดออกให้เช่าและมีการให้บริการทำความสะอาด หรือบริการอย่างอื่นอีกการประกอบกิจการของบริษัทฯ เข้าลักษณะทำนองเดียวกันกับโรงแรม (Serviced apartement) เป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 9 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.90/2542ฯลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีตามข้อเท็จจริงและคำให้การเพิ่มเติมของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้นำห้องชุดของเจ้าของห้องชุดฯ ที่นำห้องชุดของตนมาเข้าร่วมโครงการออกให้เช่าพร้อมให้บริการอย่างอื่นแก่บุคคลภายนอก (ผู้เช่า)ตามข้อ 1 บริษัทฯ มิได้กระทำในฐานะตัวแทนของเจ้าของห้องชุดฯ แต่กระทำในนามของบริษัทฯ บริษัทฯจึงต้องบันทึกค่าเช่าทั้งหมดที่รับจากผู้เช่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบริหารกลุ่มห้องชุดที่เจ้าของห้องชุดฯแต่ละรายต้องจ่ายให้บริษัทฯ รวมทั้งค่าตอบแทนจากการให้บริการบริหารงานในอัตราร้อยละสองของรายได้จากการดำเนินงาน รวมอัตราร้อยละของกำไรจากการดำเนินงานโดยสุทธิจากบรรดาภาษีตามสัญญาฯ รับรู้เป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ฉะนั้น การที่บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าเช่า 2 ส่วน คือ
               (1) ค่าเช่าในอัตราร้อยละของรายได้จากการดำเนินงาน บริษัทฯ จึงมีสิทธินำค่าเช่าดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เพราะเป็นค่าเช่าทรัพย์สินที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการจึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 15 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร และ
               (2) ค่าเช่าจากส่วนแบ่งจากรายได้สุทธิซึ่งคำนวณจากรายได้จากการดำเนินงาน หักด้วยค่าเช่าตาม (1) และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คงเหลือเป็นรายได้สุทธิ และต้องคำนวณทุกสองเดือนไม่รอถึงสิ้นปี โดยไม่รวมดอกเบี้ยรับดอกเบี้ยจ่าย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของบริษัทฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกลุ่มห้องชุดที่บริการเงินค่าเช่า (2) จึงมิได้กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทฯ จึงนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร
          สำหรับค่าตอบแทนจากการให้บริการบริหารงานในอัตราร้อยละสองของรายได้จากการดำเนินงาน รวมอัตราร้อยละของกำไรจากการดำเนินงานโดยสุทธิจากบรรดาภาษีที่กำหนดไว้ในสัญญาฯ ภาคผนวก 3 การให้บริการบริหารงานของอารีวา เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
          3. กรณีที่บริษัทฯ จ่ายค่าเช่าตามข้อ 2.1 และ 2.2 ให้แก่เจ้าของห้องชุดฯ ถือเป็นการจ่ายค่าเช่า หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 ตามข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
เลขตู้ : 76/38765

ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 1093
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores