• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/37 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลายกเว้นภาษีเงินได้ไปหักจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษี

เลขที่หนังสือ กค 0702/37 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลายกเว้นภาษีเงินได้ไปหักจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษี

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/37 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลายกเว้นภาษีเงินได้ไปหักจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษี

เลขที่หนังสือ กค 0702/37 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลายกเว้นภาษีเงินได้ไปหักจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษี

เลขที่หนังสือ : กค 0702/พ./397
วันที่ : 5 มีนาคม 2551
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(3) และมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัท ท. ขอหารือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมีรายละเอียดสรุปความได้ว่า บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก เนื่องจาก บริษัทฯ ถูกละเมิดลิขสิทธิ์จากการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ ในระบบสัญญาณดาวเทียม DStv จึงได้ดำเนินคดีกับ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ซึ่งผู้ละเมิดบางรายที่ถูกดำเนินคดีนั้นได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบริษัทฯ โดย ยินยอมชำระค่าเสียหายจากการละเมิดรายละ 60,000 - 120,000 บาท เพื่อระงับการดำเนินคดีในชั้นศาล บริษัทฯ ได้กำหนด เงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้
          1. ผู้ละเมิดต้องชำระเงินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แก่บริษัทฯ
          2. ผู้ละเมิดต้องทำสัญญาบอกรับการเป็นสมาชิกรายการโทรทัศน์ของบริษัทฯ ประเภทโครงการ เป็นระยะ เวลาอย่างน้อย 5 ปี
          บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ค่าเสียหายที่บริษัทฯ ได้รับจากการละเมิดลิขสิทธิ์ตาม 1. นั้น อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่
แนววินิจฉัย           กรณีบริษัทฯ ถูกละเมิดลิขสิทธิ์จากการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ และบริษัทฯ ตกลงทำสัญญาประนีประนอม ยอมความกับผู้ละเมิด โดยผู้ละเมิดยินยอมจ่ายค่าเสียหายจากการละเมิดให้แก่บริษัทฯ รายละ 60,000 - 120,000 บาท การจ่าย ค่าเสียหายดังกล่าว ไม่ว่าจะเกิดจากการจ่ายตามสัญญาการให้ใช้ลิขสิทธิ์หรือเกิดจากการเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการละเมิด ลิขสิทธิ์ก็ตาม หากไม่ได้เป็นการจ่ายโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่สั่งให้จ่ายในลักษณะของค่าเสียหายจากการละเมิด ลิขสิทธิ์แล้ว ย่อมถือเป็นการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 71/35673

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 498
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores