• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/128 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขอคืนภาษี

เลขที่หนังสือ กค 0702/128 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขอคืนภาษี

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/128 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขอคืนภาษี

เลขที่หนังสือ กค 0702/128 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขอคืนภาษี

เลขที่หนังสือ : กค 0702/37
วันที่ : 20 กุมภาพันธ์ 2551
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลายกเว้นภาษีเงินได้ไปหักจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษี
ข้อกฎหมาย : มาตรา 35(1) แห่ง พรบ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
ข้อหารือ           1. บริษัท B ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตสินค้าเม็ดพลาสติก โดยได้รับสิทธิและประโยชน์ตาม บัตรส่งเสริม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ดังนี้
               ก. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีกำหนด 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น (1 ม.ค. 33 - 31 ธ.ค. 40)
               ข. ลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 จากอัตราปกติมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่ วันพ้นกำหนดเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (1 ม.ค. 41 - 31 ธ.ค. 45)
               ค. อนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออก จากกำไรสุทธิที่เกิดภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดไม่เกิน 5 ปี (ต้องใช้สิทธิภายใน 31 ธ.ค. 45)
          2. ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 - 2545 บริษัท B มีรายได้ทั้งกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (กิจการ BOI) และกิจการที่ไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุน (กิจการ NON BOI)
          3. โดยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 - 2545 บริษัทฯ มีผลการประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใน อัตราร้อยละ 30 และร้อยละ 15 บริษัทฯ จึงขอทราบว่า การนำผลขาดทุนสะสมมาหักจากกำไรสุทธิ เมื่อระยะเวลาที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลง บริษัท B มีสิทธินำผลขาดทุนสะสมจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมาหักจาก กำไรสุทธิในส่วนกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ให้หมดก่อน ทั้งจำนวน แล้วจึงนำผลขาดทุนสะสมที่เหลือไปหักจากกำไรสุทธิของกิจการในส่วนกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 15 ได้หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย           กรณีบริษัท B ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยกิจการ ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ยังได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ มีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่พ้น กำหนดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 35(1) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 บริษัท B มีสิทธินำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการ ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติก่อน และหากบริษัท B ยังมีผลขาดทุนประจำปีของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเหลืออยู่อีก จึงจะมีสิทธินำไปหักออกจากกำไรสุทธิของ กิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราปกติ
เลขตู้ : 71/35644


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 416
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores