• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/2854 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) พ. ศ.2549

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/2854 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) พ. ศ.2549

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/2854 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) พ. ศ.2549

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/2854 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) พ. ศ.2549

เลขที่หนังสือ : กค 0706(กม.08)/2854
ลงวันที่ : 13 กันยายน 2550
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) พ. ศ.2549
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่460)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ฯ (ฉบับที่ 156)
ข้อหารือ         บริษัท ท.เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยบริษัทฯจึงขอทราบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่460) พ.ศ. 2549 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 156) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมตามมาตรา 65 ตรี(5)แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 กันยายน พ. ศ. 2549 ดังนี้
        1. กรณีมาตรา 2 แห่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 460)ฯ พ.ศ. 2549 กำหนดว่า"พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป" หมายความว่าอย่างไรมีผลต่อการพิจารณาโครงการการลงทุนที่จะนำมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
        2. กรณีบริษัทฯได้มีการอนุมัติและดำเนินการโครงการมูลค่า 29 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2548โดยมีการชำระเงินบางส่วนในปี 2549 จำนวน 6 ล้านบาท ซึ่งได้ชำระในเดือนมีนาคม 2549จำนวน 2 ล้านบาทเดือนมิถุนายน 2549 จำนวน 3 ล้านบาท และเดือนกันยายน 2549 จำนวน 1ล้านบาท บริษัทฯมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) พ.ศ.2549 หรือไม่
        3. กรณีบริษัทฯได้มีการอนุมัติโครงการการลงทุนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 156)ฯลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 หากบริษัทฯ ขอออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม2550เงินได้ที่บริษัทฯได้จ่ายไปตามโครงการการลงทุนของบริษัทฯทั้งก่อนและหลังจากการยกเลิกการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดังกล่าวบริษัทฯ มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) พ.ศ. 2549
แนววินิจฉัย         1. กรณีตาม 1 และ 2บริษัทฯซึ่งเป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 460) พ.ศ. 2549 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 156)ฯลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 จะต้องเป็นกรณีบริษัทฯจัดทำเป็นโครงการการลงทุนที่มีมูลค่าตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไปตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม2549 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) พ.ศ. 2549 มีผลใช้บังคับดังนั้นกรณีบริษัทฯ ได้มีการอนุมัติและดำเนินโครงการลงทุนตั้งแต่ปี 2548ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) พ.ศ.2549 มีผลใช้บังคับ บริษัทฯจึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแต่อย่างใด
        2. กรณีตาม 3บริษัทฯขอออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม2550 บริษัทฯ จึงมิใช่บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 156)ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่อย่างใด
เลขตู้ : 70/35323

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 357
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores