• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/2928 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าแบบลิสซิ่ง

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/2928 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าแบบลิสซิ่ง

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/2928 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าแบบลิสซิ่ง

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/2928 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าแบบลิสซิ่ง

เลขที่หนังสือ : กค 0706(กม.08)/2928
วันที่ : 20 กันยายน 2550
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าแบบลิสซิ่ง
ข้อกฎหมาย : มาตรา 77/1(8)(9) มาตรา 77/2 มาตรา 79 และมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ

          บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 แห่งประมวลรัษฎากร โดยประกอบธุรกิจบริการให้เช่าแบบลิสซิ่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายรับค่าเช่าและค่าขายมูลค่าซากเมื่อสิ้นสุดสัญญาซึ่งในการทำสัญญาลิสซิ่งกับลูกค้า บริษัทฯ จะเรียกเก็บเงินประกันค่าซากและหนี้ที่ผู้เช่าค้างชำระตามสัญญาเช่า เฉพาะรายที่มีผลประกอบการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก และไม่มีบริษัทฯ ในเครือค้ำประกันโดยบริษัทฯได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว ในการทำสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งดังกล่าว บริษัทฯ ได้กำหนดราคาซากไว้ในสัญญา และเมื่อสิ้นสุดสัญญาหากลูกค้าไม่ซื้อซาก บริษัทฯ จะขายซากให้กับบุคคลภายนอกและในการโอนขายซากให้กับบุคคลภายนอกอาจจะสูงหรือต่ำกว่ามูลค่าซากที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งหากสูงกว่ามูลค่าซากที่กำหนดไว้ในสัญญา ก็จะคืนส่วนเกินให้กับผู้เช่าและถ้าขายต่ำกว่าราคาซากที่กำหนดไว้ในสัญญา บริษัทฯ จะเรียกเก็บส่วนต่างจากผู้เช่า

          บริษัทฯ จึงขอทราบว่า กรณีสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งที่มิได้เรียกเก็บเงินประกันค่าซาก เมื่อมีการโอนขายซากให้บุคคลภายนอก มูลค่าส่วนต่างดังกล่าว ถือเป็นรายได้จากการขายหรือการให้บริการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ให้เช่าหรือไม่

แนววินิจฉัย

          กรณีบริษัทฯ โอนขายซากทรัพย์สินที่ให้เช่าแก่บุคคลภายนอก เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)(9) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยฐานภาษีสำหรับการขายสินค้านั้นได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากบริษัทฯ ได้รับหรือพึงได้รับเงินจากการขายซากทรัพย์สินดังกล่าวเท่าใด ก็ต้องนำมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และถือเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และหากบริษัทฯ มีการคืนเงินที่ขายได้เกินกว่ามูลค่าซากให้แก่ผู้เช่าตามสัญญา เงินที่คืนให้ผู้เช่า ดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 แห่ง ประมวลรัษฎากร

เลขตู้ : 70/35340

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 409
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores