• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./8513 ภาษีมูลค่าเพิ่ม หารือเพิ่มเติมกรณีนำเข้าน้ำมันปลา Crude Salmon Fish Oil

เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./8513 ภาษีมูลค่าเพิ่ม หารือเพิ่มเติมกรณีนำเข้าน้ำมันปลา Crude Salmon Fish Oil

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./8513 ภาษีมูลค่าเพิ่ม หารือเพิ่มเติมกรณีนำเข้าน้ำมันปลา Crude Salmon Fish Oil

เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./8513 ภาษีมูลค่าเพิ่ม หารือเพิ่มเติมกรณีนำเข้าน้ำมันปลา Crude Salmon Fish Oil

เลขที่หนังสือ : กค 0706/พ./8513
วันที่ : 14 ตุลาคม 2548
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม หารือเพิ่มเติมกรณีนำเข้าน้ำมันปลา Crude Salmon Fish Oil
ข้อกฎหมาย : มาตรา 81(1)(ข) มาตรา 81(1)(จ) มาตรา 81(2)(ก)
ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบกิจการนำเข้าน้ำมันปลา Crude Salmon Fish Oil จากต่างประเทศ เพื่อจำหน่ายให้โรงงานอาหารสัตว์ใช้เป็นวัตถุดิบในการผสมอาหารสัตว์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2546 ในการนำเข้าสินค้าดังกล่าวกรมศุลกากรไม่เรียก
เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโดยระบุไว้ในใบขนสินค้าว่ายกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา81(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ ขายสินค้าดังกล่าวจึงมิได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้า เนื่องจากเห็นว่ากรมศุลกากรยกเว้นภาษีให้ตามที่ระบุไว้
ในใบขนสินค้าประกอบกับหนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากรที่ กค 0811/พ.12685 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2544 ซึ่งวินิจฉัยว่าสินค้าดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ต่อมาเดือนธันวาคม
2546 บริษัทฯ ได้นำเข้าสินค้าดังกล่าวอีก แต่ได้รับแจ้งจากกรมศุลกากรว่าบริษัทฯจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากสินค้าไม่ได้รับยกเว้นภาษี บริษัทฯ จึงหารือไปยังสำนักงานสรรพากรภาคและได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมศุลกากร และเมื่อบริษัทฯ ขายสินค้าได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้า ต่อมาบริษัทฯ ได้รับหนังสือตอบข้อหารือจากสำนักงานสรรพากรภาคว่า สินค้าดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ถูกสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครเรียก
ตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่ม และแจ้งว่าบริษัทฯ ปฏิบัติไม่ถูกต้องกล่าวคือสินค้าน้ำมันปลาที่บริษัทฯ นำเข้าทั้งหมดจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังทั้งปี 2546 หากไม่ชำระภาษีให้ถูกต้อง จะถูกประเมินภาษีพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
บริษัทฯ หารือว่า บริษัทฯ ไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโรงงานอาหารสัตว์เพราะถือปฏิบัติตามกรมศุลกากรที่ไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าน้ำมันปลา และหนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากรข้างต้นเป็นความผิดของ
บริษัทฯ หรือไม่ เพราะกรมสรรพากรตอบข้อหารือแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นสินค้าชนิดเดียวกันมีทั้งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และได้ปฏิบัติตามระเบียบ หลักเกณฑ์ที่หน่วยงานแต่ละแห่งกำหนดไว้โดยเคร่งครัด การที่บริษัทฯ จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังสร้างความเดือดร้อนแก่บริษัทฯและเป็นการลงโทษที่ไม่เป็นธรรม
แนววินิจฉัย : การพิจารณาวินิจฉัยข้อหารือย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและข้อมูลที่ผู้หารือแต่ละรายแจ้งให้ทราบ โดยนำมาพิจารณาประกอบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีบริษัทฯ นำเข้าน้ำมันปลา Crude Salmon Fish Oil นั้น ได้พิจารณาจากข้อเท็จจริง
ที่บริษัทฯ แจ้ง ประกอบกับพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ที่เกี่ยวข้องเห็นว่า น้ำมันปลาเป็นสินค้าที่ผ่านกระบวนการหรือกรรมวิธีเพื่อแปรสภาพเป็นสินค้าอื่นแล้ว และเป็นน้ำมันที่สกัดจากสัตว์ซึ่งบรรจุในภาชนะที่ผนึกในลักษณะมั่นคง ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร นอกจากนั้นยังเข้าลักษณะเป็นวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์และมิใช่อาหารเสริมสำหรับสัตว์ จึงไม่เข้า
ลักษณะเป็นอาหารสัตว์ ตามมาตรา 81(1)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เข้าลักษณะเป็นยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับสัตว์ เพื่อบำรุง รักษา ป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของสัตว์ ตามมาตรา 81(1)( จ) แห่งประมวลรัษฎากร การนำเข้าสินค้าดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทฯ ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มบริษัทฯ ก็มีสิทธิยื่นคำร้องของดหรือลดเบี้ยปรับต่อเจ้าพนักงานประเมิน ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคมพ.ศ. 2542
เลขตู้ : 68/33610

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 470
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores