• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/15120ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ภาษีอากรค้าง

เลขที่หนังสือ กค 0811/15120ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ภาษีอากรค้าง

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/15120ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ภาษีอากรค้าง

เลขที่หนังสือ กค 0811/15120ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ภาษีอากรค้าง

เลขที่หนังสือ : กค 0811/15120
วันที่ : 27 ตุลาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ภาษีอากรค้าง
ข้อกฎหมาย : มาตรา12
ข้อหารือ : บริษัท ก. จำกัด ค้างชำระภาษีอากร รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 42,903,847 บาท บริษัทฯชำระภาษีไว้แล้วบางส่วน ปัจจุบันคงค้าง 16,050,049.60 บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย)จากการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้าง พบว่า บริษัทฯ มีสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการกรมสรรพากร ตามสัญญาจ้างก่อสร้างกรมสรรพากร จำนวน 1,435,000,000 บาทโดยกรมสรรพากรได้ชำระแล้ว จำนวน 387,450,000 บาท คงเหลือเป็นเงิน 1,047,000,000 บาท
บริษัทฯ ได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน จำนวน 1,047,000,000 บาท ให้แก่ธนาคาร ข กรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบรับการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินกรมสรรพากรจะระงับการส่งมอบเงินค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวข้างต้น และดำเนินการหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 16,050,049.60 บาท ตามมาตรา 341 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยแจ้งให้บริษัทฯ ทราบได้หรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. มาตรา 308 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติไว้ ดังนี้
"ถ้าลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมดังกล่าวมาในมาตรา 306 โดยมิได้อิดเอื้อน ท่านว่าจะยกข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอนขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนนั้นหาได้ไม่ถ้าลูกหนี้เป็นแต่ได้รับคำบอกกล่าวการโอน ท่านว่าลูกหนี้มีข้อต่อสู้ผู้โอนก่อน เวลาที่ได้รับคำบอกกล่าวนั้นฉันใด ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แก่ผู้รับโอนได้ฉันนั้น ถ้าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องจากผู้โอน แต่สิทธินั้นยังไม่ถึงกำหนดในเวลาบอกกล่าวไซร้ ท่านว่าจะเอาสิทธิเรียกร้องนั้นมาหักกลบลบกันก็ได้ หากว่าสิทธินั้นจะได้ถึงกำหนดไม่ช้ากว่าเวลาถึงกำหนดแห่งสิทธิเรียกร้องอันได้โอนไปนั้น"ตามบทบัญญัติดังกล่าว สามารถแยกการพิจารณาได้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ ตามมาตรา 308วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บังคับใช้ในกรณีที่ ลูกหนี้ ได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้โดยมิได้อิดเอื้อน ซึ่งจะมีผลให้ลูกหนี้ ไม่อาจยกข้อต่อสู้ซึ่งมีอยู่กับเจ้าหนี้(ผู้โอน) มาใช้ยันกับบุคคลภายนอกผู้รับโอนได้ แต่สำหรับมาตรา 308 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะบังคับใช้ในกรณีที่ลูกหนี้ ได้รับคำบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ โดยที่ลูกหนี้มิได้ยินยอมด้วยแต่อย่างใด ซึ่งจะมีผลให้ลูกหนี้มีสิทธิยกข้อต่อสู้ทุกอย่างที่ตนมีต่อเจ้าหนี้ผู้โอนมาต่อสู้บุคคลภายนอกผู้รับโอนได้
2. ตามข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ การที่บริษัท ก ผู้ค้างภาษีอากรได้โอนสิทธิเรียกร้องในเงินค่าก่อสร้างอาคารกรมสรรพากรซึ่งจะได้รับจากกรมสรรพากรให้แก่ ธนาคาร ข โดยได้ทำหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ (กรมสรรพากร) แล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจึงมีผลสมบูรณ์ ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิที่จะได้รับเงินค่าก่อสร้างอาคารกรมสรรพากรจึงตกเป็นของธนาคาร ข ผู้รับโอนและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของบริษัท ก. ผู้ค้างภาษีอากรและการที่กรมสรรพากรได้ให้ความยินยอมด้วยใน การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นหนังสือ โดยได้สงวนสิทธิเฉพาะการหักเงินต่าง ๆ ที่บริษัทก. ต้องจ่ายตามที่ระบุในสัญญา และการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร โดยมิได้โต้แย้งสิทธิในหนี้ภาษีอากรค้างซึ่งมีอยู่กับบริษัท ก. ผู้โอนต่อธนาคาร ข ผู้รับโอน จึงเป็นการให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องโดยมิได้อิดเอื้อน ดังนั้น ผลของการโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องบังคับตามมาตรา 308 วรรคหนึ่ง มิใช่มาตรา 308 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือ กรมสรรพากรไม่อาจยกข้อต่อสู้ในหนี้ภาษีอากรซึ่งมีอยู่กับผู้โอนมาใช้ยันกับธนาคาร ข ผู้รับโอนได้ และไม่อาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพื่อขอหักกลบลบหนี้ภาษีอากรค้าง ได้
แต่อย่างใด
เลขตู้ : 61/27206


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 595
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores