• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/00626 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าจัดการที่ได้รับจากกองทุนเสริมสร้างสภาพคล่องของสถาบันการเงิน

เลขที่หนังสือ กค 0811/00626 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าจัดการที่ได้รับจากกองทุนเสริมสร้างสภาพคล่องของสถาบันการเงิน

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/00626 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าจัดการที่ได้รับจากกองทุนเสริมสร้างสภาพคล่องของสถาบันการเงิน

เลขที่หนังสือ กค 0811/00626 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าจัดการที่ได้รับจากกองทุนเสริมสร้างสภาพคล่องของสถาบันการเงิน

เลขที่หนังสือ : กค 0811/00626
วันที่ : 21 พฤษภาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าจัดการที่ได้รับจากกองทุนเสริมสร้างสภาพคล่องของสถาบันการเงิน
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65, มาตรา 66, มาตรา 91/4 (11)
ข้อหารือ : ธนาคาร ก. จำกัด ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2526 ให้จัดตั้งกองทุนเสริมสร้างสภาพคล่องของสถาบันการเงิน อันเป็นการมอบหมายให้ปฏิบัติงานนอกเหนือจากการประกอบธุรกิจของธนาคารฯ ที่ได้ปฏิบัติอยู่ ซึ่งการดำเนินการของกองทุนฯ มิได้มุ่งหวังกำไร แต่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ได้รับผลกระทบกระเทือน เนื่องจากการหยุดดำเนินกิจการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์บางแห่ง โดยให้ระดมเงินทุนจากสมาชิกสมาคมธนาคารไทยรวม 5,000 ล้านบาท มาให้กู้แก่บริษัทดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์มาเป็นกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินแทน ปัจจุบันคงเหลือเงินทุนจำนวน 2,841 ล้านบาทคณะกรรมการกองทุนฯ ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคาร ก. จำกัด ในการดำเนินกิจการของกองทุนฯดังกล่าว ธนาคารฯ ได้รับค่าบริการสำหรับค่าจัดการจากกองทุนฯ ในอัตราร้อยละ 0.5 ต่อปีของยอดเงินได้กู้ยืม สำหรับการบันทึกบัญชีของกองทุนฯ ได้แยกต่างหากจากการบันทึกบัญชีของธนาคารฯ จึงขอทราบว่า
1. ค่าจัดการที่ธนาคารฯ ได้รับจากกองทุนฯ จะต้องเสียภาษีประเภทใด
2. หากธนาคารฯจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องเรียกเก็บจากกองทุนฯ ใช่หรือไม่อย่างไร และเสียในอัตราใด
แนววินิจฉัย : 1. ค่าตอบแทนจากการให้บริการตามข้อเท็จจริง ธนาคารฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 และมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร
2. การให้บริการตามข้อเท็จจริง เข้าลักษณะเป็นการให้บริการเฉพาะอย่างที่มิใช่เป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการธนาคาร จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 91/4
(1) แห่งประมวลรัษฎากรธนาคารฯ จึงมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าบริการจากกองทุนฯดังกล่าว
เลขตู้ : 61/26681


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 439
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores