การวางแผนภาษีอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน

การวางแผนภาษีอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน


การวางแผนภาษีอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน

การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร

ผู้ประกอบการพึงต้องระลึกอยู่เสมอว่า ‘ภาษีอากร’ เป็นภาระผูกพันหรือปัญหาทางด้านรายจ่ายที่เกิดขึ้นควบคู่กันไปกับการดำเนินธุรกิจ เช่นเดียวกับรายจ่ายหรือต้นทุนทางธุรกิจอื่นๆ โดยทั่วไป และเป็นปัญหาหรือภาระผูกพันที่ไม่อาจเลื่อน หรือผัดผ่อนเวลาออกไปได้ เพราะภาษีอากรเป็น “หนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย” ซึ่งผู้เสียภาษีพึงต้องชำระตามกำหนดเวลาโดยไม่อาจบิดพลิ้ว การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอากรในทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้บริหารที่ต้องกระทำเป็นอันดับแรกๆ เช่นเดียวกับการวางแผนโดยทั่วไป เช่น ต้องรู้องค์ประกอบของกฎหมายภาษีอากรแต่ละประเภทที่ต้องเสีย

การวางแผนภาษีอากรที่จะให้ได้ผลต้องกระทำทันทีที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจ และต้องกระทำต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ โดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านภาษีอากรประเภทนั้นๆ ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในกิจการที่จะวางแผนภาษีอากรด้วย การวางแผนภาษีอากรจึงอาจต้องอาศัยบุคลากรที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย อาทิ กรรมการผู้จัดการ สมุห์บัญชี นักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญทางภาษีอากร และฝ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ร่วมปรึกษาหารือโดยรอบด้านในประเด็นภาษีอากรที่เกิด และต้องกระทำควบคู่ไปกับการวางแผนธุรกิจที่มีประเด็นภาษีอากรเข้ามาเกี่ยวข้อง

การวางแผนภาษีอากร โดยอาศัยความรู้ความชำนาญในประเด็นข้อกฎหมายภาษีอากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอาจมีความยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อนมากน้อยแตกต่างกันไป ตามสภาพหรือข้อเท็จจริงทางธุรกิจ และบทบัญญัติทางกฎหมายภาษีอากร ตลอดจนแนวทางปฏิบัติของทางราชการคำวินิจฉัย และคำพิพากษาของศาล ซึ่งเป็นการวางแผนภาษีอากรในระดับที่ลึกลงไปอีกระดับหนึ่ง อาทิ

  • 1. การวางแผนภาษีอากรเพื่อเริ่มกิจการหรือเมื่อริเริ่มกิจการใหม่
  • 2. การวางแผนเพื่อการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
  • 3. การวางแผนภาษีอากรด้านรายได้
  • 4. การวางแผนภาษีอากรด้านรายจ่าย
  • 5. การวางแผนภาษีอากรด้านทรัพย์สินและหนี้สิน
  • 6. การวางแผนภาษีอากรเกี่ยวกับหน้าที่ทางภาษีอากร
  • 7. การวางแผนภาษีอากรในประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การวางแผนภาษีอากรในระดับนี้อาจจำเป็นต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย บางกรณีต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญทางภาษีอากร จึงจะสามารถวางแผนภาษีอากรที่จะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์ในการวางแผนภาษีอากร มีดังนี้

  • 1. เพื่อให้การเสียภาษีอากรโดยถูกต้อง ครบถ้วนและจำนวนน้อยที่สุด โดยไม่อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษีอากร
  • 2. เพื่อขจัดปัญหาทางภาษีอากร
  • 3. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการเสียภาษีอากรไม่ถูกต้อง
  • 4. เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
  • 5. เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น และไม่ได้มาตรฐาน
  • 6. เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเรียกตรวจสอบภาษีอากรโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  • 7. เพื่อเสริมสร้างระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ

เปรียบเทียบแผนธุรกิจ และแผนภาษีอากร

รายการ แผนธุรกิจ แผนภาษีอากร
1. เป้าหมาย  เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด โดยคำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม และสภาพแวดล้อม (1) เสียภาษีถูกต้อง ครบถ้วน เป็นจำนวนน้อยที่สุด โดยไม่อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษีอากร
(2) ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด
 2. วัตถุประสงค์ (1) สนองตอบความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย อาทิ ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ลูกค้า เจ้าหนี้ ลูกหนี้

(2) ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น และไม่ได้มาตรฐาน    

(3) เสริมสร้างระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ
 ต้องสอดรับกับแผนธุรกิจ โดยมุ่ง

(1) ขจัดปัญหาทางภาษีอากร

(2) ประหยัดค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการเสียภาษีอากรไม่ถูกต้อง

(3) ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น และไม่ได้มาตรฐาน  

(4) เตรียมพร้อมต่อการเรียกตรวจสอบภาษีอากรโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

(5) เสริมสร้างระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ
 3. กรอบแนวคิด (1) เข้าถึงปัญหาธุรกิจ

(2) เข้าใจและเข้าถึงสาเหตุแห่งปัญหา ทางธุรกิจโดยจัดลำดับความสำคัญ

(3) กำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ

(4) กำหนดแนวทางแก้ปัญหาตรงสาเหตุแห่งปัญหาทางธุรกิจ     
 (1) เข้าถึงปัญหาทางภาษีอากร

(2) เข้าใจและเข้าถึงสาเหตุแห่งปัญหา ภาษีอากรโดยจัดลำดับความสำคัญ

(3) กำหนดเป้าหมายทางภาษีอากร

(4) กำหนดแนวทางแก้ปัญหาตรงสาเหตุแห่งปัญหาภาษีอากร     
 4. ขั้นตอนการวางแผน (1) ขั้นตอนศึกษา กำหนดค่านิยม วิสัยทัศน์จากประเด็นปัญหา และสาเหตุแห่งปัญหาจากนั้นนำทั้งสามส่วนข้างต้นมาประมวลเป็นแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหา หรือพันธกิจ เขียนเป็นแผนหลัก แผนปฏิบัติการ และโครงการ

(2) ขั้นตอนปฏิบัติตามแผน

(3) ขั้นตอนผลการปฏิบัติ ประกอบด้วยการประเมินผลการปฏิบัติกับสิ่งที่คาดหวังไว้ตามแผน หากเป็นที่พึงพอใจใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานใหม่ในการปฏิบัติงานต่อไป 
 เช่นเดียวกับแผนธุรกิจ
 5. ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง (1) 4M’s : Man Money Material  & Technology and Management
(2) สภาพแวดล้อมภายนอก
 ? เช่นเดียวกับแผนธุรกิจ
     

สุเทพ พงษ์พิทักษ์ อดีตสรรพากรภาค4 กรมสรรพากร 

ขอบคุณบทความจาก :: www.rd.go.th
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 610
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores