ใครเป็นผู้มีสิทธิขอคืนภาษีจากการขายทอดตลาด

ใครเป็นผู้มีสิทธิขอคืนภาษีจากการขายทอดตลาด


ใครเป็นผู้มีสิทธิขอคืนภาษีจากการขายทอดตลาด

การขอคืนภาษีเป็นกระบวนการหนึ่งของจัดเก็บภาษีอากรของรัฐ แม้ว่าจะเป็นขั้นตอนภายหลังการเสียภาษีก็ตาม ถือเป็นส่วนที่มีสาระสำคัญที่กฎหมายต้องกำหนดหลักเกณฑ์การขอคืนภาษีอากรให้มีขั้นตอนการดำเนินการขอคืนภาษีให้ชัดเจนสอดคล้องกับหลักการภาษีอากร และการขอคืนภาษีเป็นสิทธิของผู้เสียภาษีอากรที่เกิดจากการเสียภาษีเกินกว่าที่ควรต้องเสียหรือเสียภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียแต่เนื่องจากมีกรณีที่ประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้ระบุให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรจากการขายที่ดินตามประมวลรัษฎากร จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดตกลงกับเจ้าพนักงานบังคับคดีตามข้อสัญญาดังกล่าวผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดจึงเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรจากการซื้อที่ดินแทนเจ้าของที่ดิน แต่ต่อมาศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวและคดีถึงที่สุดแล้ว มีผลเท่ากับไม่มีการขายทอดตลาดเกิดขึ้นซึ่งทำให้ไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้นเมื่อบุคคลที่เป็นผู้ชำระภาษีอากรจะมีสิทธิขอคืนภาษีอากรที่ได้เสียไปได้หรือไม่ จึงทำให้มีประเด็น
ที่น่าสนใจว่า

ประเด็นที่ 1 การที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีบุคคลประมูลซื้อได้และได้จดทะเบียนรับโอนและชำระภาษีเงินได้แล้ว มีผลเท่ากับไม่มีการขายทอดตลาดเกิดขึ้นและไม่มีการจดทะเบียนรับโอน บุคคลดังกล่าวจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษี และมีสิทธิขอคืนภาษีอากรจากการขายทอดตลาดดังกล่าว ใช่หรือไม่

ประเด็นที่ 2 การขอคืนภาษีอากร บุคคลผู้มีสิทธิขอคืนได้ตามมาตรา 27 ตรี(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดว่า ในกรณีผู้มีสิทธิขอคืนเป็นคดีในศาลให้ยื่นคำร้องขอคืนภายใน3 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ดังนั้น จึงสามารถขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด และหากไม่เข้าลักษณะที่จะขอคืนภาษีได้ ตามมาตรา 27 ตรี (2)แห่งประมวลรัษฎากร ย่อมมีสิทธิขอคืนภาษีได้ภายในอายุความทั่วไป คือ 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เนื่องจากเป็นกรณีที่กฎหมายภาษีอากรมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ใช่หรือไม่


ประเด็นดังกล่าว1 กรมสรรพากรได้มีแนววินิจฉัยสรุปความได้ว่า กรณีประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีระบุให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรจากการขายที่ดินตามประมวลรัษฎากร จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดตกลงกับเจ้าพนักงานบังคับคดีตามข้อสัญญาดังกล่าวผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดจึงเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรจากการซื้อที่ดินแทนเจ้าของที่ดิน และเจ้าพนักงานที่ดินฯ ได้เรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากธนาคารฯแต่ใบเสร็จรับเงินของกรมที่ดินระบุว่า ได้รับเงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากนาย ป. กับธนาคารฯ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวและคดีถึงที่สุดแล้ว มีผลเท่ากับไม่มีการขายทอดตลาดเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น เมื่อธนาคารฯ เป็นผู้ชำระภาษีอากร ย่อมมีสิทธิขอคืนภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้ว เพราะเข้าลักษณะเป็นผู้เสียประโยชน์จากการชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียโดยต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบ ค.10 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ผู้ขอคืนภาษีอากรมีภูมิลำเนาในพื้นที่นั้นภายใน
3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

Click Download รายละเอียด ใครเป็นผู้มีสิทธิขอคืนภาษีจากการขายทอดตลาด คลิกได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 771
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores