ความเสี่ยง ในการประเมินความเสี่ยง

ความเสี่ยง ในการประเมินความเสี่ยง



จากการที่ได้ไปเข้าร่วมประชุมผู้ตรวจสอบภายในระหว่างประเทศประจำปี 2019 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจที่ผู้เขียนอยากนำมาเป็นข้อเตือนใจให้กับผู้สอบบัญชี ทั้งผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งต่อไปนี้ขอเรียกรวมว่า ผู้ตรวจสอบ นั่นคือ “ความเสี่ยงในการประเมินความเสี่ยง”
            เมื่อกล่าวถึงความเสี่ยง ผู้ตรวจสอบจะนึกถึง ความเสี่ยงสืบเนื่อง ความเสี่ยงจากการตรวจสอบความเสี่ยงจากการควบคุมภายใน การประเมินความเสี่ยง การบริหารจัดการความเสี่ยง การตอบสนองต่อความเสี่ยง และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งผู้ตรวจสอบได้เข้าใจความเสี่ยงอย่างแท้จริงหรือไม่ ได้คำนึงถึงความเสี่ยงในการประเมินความเสี่ยงหรือไม่
            ถ้าให้ประเมินความเสี่ยงจากการเดินทางด้วยเครื่องบินกับการเดินทางด้วยรถยนต์ ท่านคิดว่าการเดินทางแบบใดมีความเสี่ยงมากกว่ากัน หลายคนตอบว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินปลอดภัยกว่าเพราะเรารับรู้อัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากกว่าจากเครื่องบิน หรือบางคนบอกว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินมีความเสี่ยงกว่าเพราะอยู่ในที่สูง ซึ่งตนเองเป็นคนที่กลัวความสูง หรือบางคนบอกว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินเสี่ยงกว่าเพราะเราไม่ได้ขับเองเราไม่ได้เป็นผู้ควบคุม ไม่เหมือนการเดินทางด้วยรถยนต์ที่เราขับเอง เราควบคุมการขับของเราได้จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า การประเมินความเสี่ยงขึ้นกับมุมมองของผู้ประเมิน ดังนั้น ผู้ประเมินต่างกันจะประเมินความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน

ถ้าท่านเห็นตัวเลข 3 5 3 ท่านคิดว่าตัวเลขต่อไปคือตัวเลขอะไร?

หลายท่านจะตอบว่า 5 ทำไมท่านตอบเลข 5 นั่นเพราะคนเรามักจะมองหาแบบแผน หรือ Pattern ที่ควรเป็น เราจะรู้สึกมั่นคง มั่นใจต่อการมองหาแบบแผนในการคาดเดาตัวเลข หรืออนาคต ซึ่งท่านอาจตกหลุมพรางของแบบแผนที่ท่านเห็น

กรณีที่ท่านได้ข้อมูลการรักษา 4 แบบต่อไปนี้

แบบที่ 1 การรักษาน่าจะสามารถช่วยชีวิตคนได้ 200 คน จาก 600 คน หากให้ท่านเลือกระหว่าง แบบที่ 1 และ 2 หลายท่านเลือกแบบที่ 1 เพราะเป็นจำนวนที่ค่อนข้างแน่นอน เห็นเป็นตัวเลขชัดเจนว่าช่วยได้ 200 คน

หากให้ท่านเลือกระหว่าง แบบที่ 3 และ 4 หลายท่านเลือกแบบที่ 4 เพราะเป็นจำนวนที่ไม่แน่นอนในเชิงลบ ดีกว่ารู้ชัดเจนในเชิงลบว่าคนตาย 400 คน

ทั้งที่ ในข้อเท็จจริงแล้วความหมายของแบบที่ 1 และแบบที่ 3 คือ เท่ากัน แต่ข้อความในเชิงบวก หรือในเชิงลบนั้น ส่งผลต่อความคิด ส่งผลต่อการตัดสินใจของท่าน

แบบที่ 2 การรักษาน่าจะช่วยชีวิตคนไข้ 1 ใน 3 ของคนไข้ทั้งหมด 600 คน
แบบที่ 3 การรักษาแบบที่ 3 น่าจะทำให้คนตาย 400 คน จาก 600 คน
แบบที่ 4 การรักษาน่าจะทำให้คนตาย 2 ใน 3 ของคนไข้ทั้งหมด 600 คน

นอกจากนี้การใช้ดุลยพินิจของผู้ตรวจสอบ เช่น การประเมินความเสี่ยงอาจมีอคติหรือความลำเอียงจากสิ่งต่อไปนี้

Anchoring Fallacy
คือ การที่เราตัดสินใจไปตามมาตรฐานหรือเกณฑ์

หรือแนวปฏิบัติที่กำหนดให้โดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่น
ที่อยู่นอกเหนือเกณฑ์นั้น ๆ
.
.
..
.
.
.

  Availability Bias หรือ Heuristic
คือ อคติหรือความลำเอียงจากข้อมูลที่เราเคยรับรู้หรือ
ที่เราระลึกได้ง่าย เช่น หากเราเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สึนามิ
เราจะจำเหตุการณ์นั้นได้แม่นยำซึ่งถ้าต่อมาเรา
ได้ไปตรวจสอบโรงแรมหรือกิจการที่อยู่ติดทะเล
เราอาจประเมินว่าเสี่ยงมากทั้งที่โอกาสที่จะเกิด
ไม่สูงเท่าที่เราประเมินจากสิ่งที่เราจดจำได้
  Hindsight Bias
คือ อคติหรือความลำเอียง
ที่เราคิดว่าเรารู้เหตุการณ์นั้น
ดีก่อนที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น
..
.
.
..
.
.
.
...

  Confirmation Bias
คือ การที่เรามีอคติหรือเอนเอียงให้น้ำหนัก
ต่อข้อมูลที่สนับสนุนหรือสอดคล้องกับความเชื่อ
ของตน และละเลยหรือไม่สนใจต่อข้อมูลที่ไม่สอดคล้อง
กับความเชื่อของตน
.
.
.




            จะเห็นได้ว่า ผู้ตรวจสอบมีความเสี่ยงจากการประเมินความเสี่ยงจากอคติหรือความลำเอียงข้างต้น เช่น ผู้ตรวจสอบยึดหรืออ้างอิงเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติที่ให้โดยไม่ได้พิจารณาข้อมูลอื่นหรือไม่ ผู้ตรวจสอบนำเอาข้อมูลในอดีตที่ตนเองประสบหรือที่ได้ยิน หรือที่ได้รับรู้มาเป็นหลักในการประเมินสถานการณ์ในปัจจุบันมากเกินไป โดยไม่ได้พิจารณาข้อเท็จจริงของสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ หรือผู้ตรวจสอบมีความมั่นใจเกินไปหรือไม่ว่าตนเองรู้ทุกอย่าง
            ดังนั้น ถึงแม้ว่าความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แต่ผู้ตรวจสอบสามารถควบคุมการตอบสนองต่อความเสี่ยงได้ซึ่งผู้ตรวจสอบควรระวังความเสี่ยงจากการประเมินความเสี่ยง เพราะหากผู้ตรวจสอบประเมินความเสี่ยงไม่เหมาะสม ผู้ตรวจสอบจะตอบสนองต่อความเสี่ยงไม่เหมาะสมเช่นกัน

สิ่งที่ผู้ตรวจสอบควรพิจารณาในการประเมินความเสี่ยง คือ

1. ผู้ตรวจสอบเข้าใจโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงหรือไม่ ผู้ตรวจสอบควรใช้ข้อมูลสถิติหรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมากกว่าการใช้การรับรู้หรือทัศนคติส่วนตัว
2. ผู้ตรวจสอบควรเป็นกลางในการประเมิน ระวังอคติหรือความลำเอียงในการประเมิน เช่น การให้น้ำหนักต่อข้อมูลที่สนับสนุนความคิดหรือความเชื่อมากเกินไป การอ้างอิงกฎเกณฑ์ แนวปฏิบัติมากเกินไป ความมั่นใจว่าตนเองรู้ทุกอย่างมากเกินไป ระวังการอ้างอิงจากประสบการณ์ส่วนตัวหรือจากข้อมูลที่จดจำง่ายมากเกินไป
3. ผู้ตรวจสอบควรระวังกับดักของแบบแผน หรือ Pattern ที่สร้างขึ้นมา
4. ผู้ตรวจสอบควรระวังต่อภาษาของข้อมูลที่ได้มา ควรคำนึงถึงข้อเท็จจริงให้มาก



อบคุณบทความจาก :: สภาวิชาชีพบัญชี
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 237
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores