ค่าสินไหมทดแทนเพื่อลเเมิดกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อลเเมิดกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


คำว่า “ค่าสินไหมทดแทน”1 หมายถึงสิ่งที่ให้หรือการกระทำที่ทำเพื่อชดใช้หรือทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน หรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิดหรือการผิดสัญญา รวมทั้งการคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้เสียหายด้วย ส่วนคำว่า “ค่าเสียหาย”2 หมายถึง มูลค่าแห่งความเสียหายที่ผู้เสียหายพึงได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มี2 ประเภท คือ3

1.การคืนทรัพย์หรือใช้ราคาทรัพย์นั้นหมายถึงทรัพย์สินที่ต้องเสียไปเพราะถูกเอาไปโดยละเมิดในลักษณะแย ่งการครอบครองเจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองมีสิทธิติดตาม
เอาคืน ถ้าคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาทรัพย์นั้นแทน
2.การใช้ค่าเสียหาย หมายถึง ค่าที่ทำให้เขาเกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัยเสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างอื่นข้อสังเกต ดอกเบี้ยในค่าเสียหาย เมื่อโจทย์มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา434 และมาตราอื่นๆ ต่อมาแล้วหากเป็นตัวเงินจำเลยก็ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามมาตรา 206และมาตรา 229

ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรหรือไม่หากพิจารณาตามคำนิยามของคำว่า“เงินได้พึงประเมิน” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้

เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วยจึงเห็นได้ว่า ค่าเสียหายหรือค่าสินไหม
ทดแทนที่มีการจ่ายเป็นเงินหรือจ่ายเป็นทรัพย์สินย่อมเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ต้องพิจารณาต่อไปว่าค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนนั้นได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ ถ้าได้รับยกเว้นภาษีก็ไม่ต้องเสียภาษี

Click Download รายละเอียดค่าสินไหมทดแทนเพื่อลเเมิดกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คลิกได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 331
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์