• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/12390ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์

เลขที่หนังสือ กค 0811/12390ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/12390ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์

เลขที่หนังสือ กค 0811/12390ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์

เลขที่หนังสือ : กค 0811/12390
วันที่ : 19 สิงหาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์
ข้อกฎหมาย : มาตรา 42 (17), มาตรา 104, กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509)ฯ
ข้อหารือ : กรุงเทพมหานคร มีโครงการปรับปรุงและขยายตรอก ซอย ที่เชื่อมกับถนนสายหลัก เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร โดยได้มีการจัดกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่อยู่ในแนวเขตทางก่อนการเวนคืน และแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตทางเป็นผู้เจรจาซื้อขายที่ดินกับเจ้าของที่ดินที่ถูกเขตทางในขณะเดียวกันได้เสนอตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่ที่จะเวนคืนตามโครงการดังกล่าวควบคู่กันไปด้วย ซึ่งในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ
ตามโครงการดังกล่าว สำนักการโยธาได้ตกลงซื้อขายที่ดินแบบธรรมดากับเจ้าของที่ดินที่ถูกเขตทาง หากเจ้าของที่ดินตกลงรับเงินค่าทดแทนตามราคาที่คณะกรรมการกำหนด เจ้าของที่ดินจะต้องไปยื่นคำขอทำการรังวัดและจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ (ทางหลวงเทศบาล) เสียก่อนสำนักการโยธาจึงจะจ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดิน จึงขอทราบว่า การโอนอสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังกล่าวจะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และเสียอากรแสตมป์หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย : 1. กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินค่าตอบแทนจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่เงินค่าตอบแทนที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร และตามข้อ 2 (29) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความใน
ประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 184 (พ.ศ. 2533) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
2. กรณีอากรแสตมป์ เนื่องจากการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีนี้ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ผู้ออกใบรับสำหรับการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ จึงมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ ตามมาตรา 104 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์เพราะใบรับดังกล่าว เข้าลักษณะแห่งตราสารที่ 28 (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 61/27001


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 405
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores